ประสิทธิผลการนำนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตาม การเดินรถด้วยระบบ GPS ไปปฏิบัติของสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

Baifern Kamputjan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการนำนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS ไปปฏิบัติ ของสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการนำนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS ไปปฏิบัติ ของสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลและการนำนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS ไปปฏิบัติ ของสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารสาธารณะที่ใช้ระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 165 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที      การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลการนำนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS ไปปฏิบัติ ของสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (2) การเปรียบเทียบประสิทธิผลการนำนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS ไปปฏิบัติของสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระยะเวลาในการประกอบกิจการต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS แตกต่างกัน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลและการนำนโยบายควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะด้วยระบบติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS ไปปฏิบัติ ของสำนักงานขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง

Article Details

บท
Research Article

References

กองแผนงาน. (2563). แผนปฏิบัติราชการกรมการขนส่งทางบกระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ฉบับทบทวนปี

พ.ศ. 2563 : กรมการขนส่งทางบก

กล้า ทองขาว. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 6 เรื่อง การ

นำนโยบายไปปฏิบัติ, นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2545). นโยบายสาธารณะ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรเดช จันทร์ศร. (2540). การนำนโยบายไปปฏิบัติ, กรุงเทพฯ : กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์)

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6).

กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Bardach, Eugene.1980. “Implementation Studies and the study of Implements,” Presented at

the 1980 meeting of American Policy Science Association, University of California, Berkeley.

Edwards, George C. (1980). Implementing Public Policy. Washington, D.C.: Congressional Quarterly Press.

World Health Organization. (2018). Global status report on road safety 2018. Printed in France.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. ; & Donnelly, J. H. (1988). Organizations: Behavior, Structure, Process. 6th ed. Texas Business Publications.

Bennis, W. G. (1971). The concept of organizational health inchanging organizational. Edited by Warren G. Bennis. New York : McGraw-Hill.