ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

กนกพร ทิพย์พิมล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 300 คน คือประชาชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าเบี่ยงเบนทางเดียว และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) ด้านประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก (2) ด้านเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย กับประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า เป็นเชิงบวก ระดับปานกลางค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Article

References

จุมพล หนิมพานิช. (2550). การบริหารจัดการภาครัฐใหม่ : หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย (ครั้งที่ 2). นนทบุรี : ฝ่ายตำราสำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชุลีพร โพธิ์เหลือง. (2557). ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการด้วยธรรมาภิบาล ตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 32-44.

ธนพงษ์ คงศิลป์ทรัพย์ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และวิเชียร วิทยอุดม. (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย . ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, กรุงเทพฯ.

นิสา ใจภักดี ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ และพิสิษฐ์ จอมบุญเรือง. (2559). การบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ตามการรับรู้ของประชาชน. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 และนานาชาติ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระนครศรีอยุธยา. 290-298.

พิทยา บวรวัฒนา. (2533). ประสิทธิผลของหน่วยงาน ทฤษฎีขององค์การสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาทฤษฎีองค์การ. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ คอมมิวนิเคชัน.

เรณู หมื่นห่อ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

วรลักษณ์ วรรณกูล. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานพิมพ์บรรณกิจ.

สมพงศ์ เกษมสิน. (2546).การบริหาร.กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.

Max, Weber. (1947). The Theory of Social and Economic Organization. New York : Free Press.