การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทางดิจิทัล ของบุคลากรกรมสรรพสามิต 1

Main Article Content

มนสิชา บุตรโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับสมรรถนะเทคโนโลยีของบุคลากรกรมสรรพสามิต (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะเทคโนโลยีของบุคลากรกรมสรรพสามิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาบุคลากรและสมรรถนะเทคโนโลยีของบุคลากรกรมสรรพสามิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 ราย ได้แก่ ข้าราชการ ส่วนกลางของกรมสรรพสามิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านระดับสมรรถนะเทคโนโลยีของบุคลากรกรมสรรพสามิต พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการเปรียบเทียบสมรรถนะเทคโนโลยีของบุคลากรกรมสรรพสามิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรกรมสรรพสามิตที่มีอายุและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะเทคโนโลยีแตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาบุคลากรและสมรรถนะเทคโนโลยีของบุคลากรกรมสรรพสามิตพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. (พ.ศ. 2561 – 2580). http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF, 18 มีนาคม 2564.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (พ.ศ. 2560 – 2564). https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422, 4 มกราคม 2565.

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. (พ.ศ. 2561- 2580). https://www.nesdc.go.th/ewt_ dl_link.php?nid=6422, 4 ตุลาคม 2564.

แผนการปฏิรูปประเทศ. (พ.ศ. 2561 – 2565). https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php? nid=642

, 20 มีนาคม 2564

ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลกรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. การ ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวชิาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.พระนครศรีอยุธยา.

สุธรรม สิกขาจารย์ ,ทัศนีย์ ช่อเทียนทิพย์,วิรัตน์ มณีพฤกษ์,นำพล ม่วงอวยพร.(2562).การทบทวนแนวคิด

เกี่ยวกับสถานศึกษาในฐานะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้.วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและ เอกชน ,1(1),26-38

จรัมพร โห้ลำยอง , ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต,. (2022). อิทธิพลของสมดุลชีวิตกับการทำงาน ต่อความตั้งใจลาออก และความตั้งใจคงอยู่กับองค์กร ในกลุ่มบุคลากร

ภาคการศึกษา. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 210–226.

Boyatzis, R. (1982). The Competent Manager: A Model for Effective Performance. New York: Wiley Interscience,

Farah, M. J., & McClelland, J. L. (1991). A computational model of semantic memory impairment: Modality specificity and emergent category specificity. General, Journal of Experimental Psychology.

Ganesh Shermon. (2004). Competency based HRM : a strategic resource for competency mapping, assessment and development centres. New delhi: Tata McGraw-Hill Publishing Company Limited.

McClelland, D.C. (1991). Testing for Competence rather than for Intelligence. American: Psychologist.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3“Ed. New York: Harper and Row Publications.

Spencer, Lyle M. and Spencer, Signe M. (1993). Competence at Work Models for Superior Performance. John Wiley & Sons, Inc.

Seiler, J.P. (1975). The molecular mechanism of Benz imidazole mutagenicity: In vitro studies on transcription and translation. Journal of Biochemical Genetics

Szilagyi, Andrew D. (1984) Management and Performance. 3" ed. Glenview. Scot: Foresman,

Bohlander, G., Snell, S. & Sherman. (2010) A. Managing human resources. New York: South-Western College.

Nadler, L. (1984). The Handbook of Human Resource Development. Wiley, New York

Leonard Nadler. (1970). Feveloping Human Resources. Houston: Gulf

Leonard Nadler. (1980). Corporate Human Pesources Development. New York: American For Training and Development.

Kenneth N. Wexley, Gary P. Latham. (1983). Developing and Training Human Resources in Organizations. The Academy of Management Review. Vol. 8, No. 1.

Best. J. W. and Kahn J.V. (1993). Research In Education. 7 th ed. Boston, M.A.: