การศึกษาคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเครือโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เขตภาคกลาง สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

อังคณา ทับล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อระบุระดับคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเครือโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เขตภาคกลาง (2) เพื่อพรรณนาบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเครือโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เขตภาคกลาง (3) เพื่อพรรณนาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเครือโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เขตภาคกลาง โดยจำแนกตามเพศ ระดับผลการเรียน (เกรดเฉลี่ยสะสม) สถานภาพสมรสของผู้ปกครอง และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เขตภาคกลาง สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 5 โรงเรียน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการศึกษาคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเครือโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เขตภาคกลาง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะของนักเรียนต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับเดือนมกราคม. (2564). ปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของประชากรในทุกช่วงวัย : หน้า 1.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2558). รากฐานของการพัฒนาคุณภาพของคน : หน้า 4-5.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น

ศูนย์กลาง : กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2551). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาวลัย สุนทรวิภาต. (2550). การพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียน. ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมพล มีชัย, วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย, เนตรชนก สูนาสวน , นวลใย นิลบรรพ์. (2565). การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(2), 13–26.

ชนิกานต์ ยงค์สุรี, วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย, ทนง ทองภูเบศร์. (2566). เทคโนโลยีนวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 223–234.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): pp. 607-610.