ประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วน จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

สายเวช โมฬี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของประสิทธิผลการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี กับการบริหารจัดการประสิทธิผล การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ได้แก่ ประชาชนในเขตจังหวัดเพชรบุรี 8 อำเภอ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการ ด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีพบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการ ด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พบว่า ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง ค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัว มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ ด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ไม่แตกต่างกัน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการบริหารจัดการ ด้านการประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีพบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรทิพย์ พิมลสินธุ์.(2540). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ :ประกายพรึก

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ.(2556). หลักการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.:ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ กรุงเทพมหานคร.

สมิต สัชฌุกร.(2542).การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

จริยา ตาเจริญ.(2554). ระบบการจัดการความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานอัยการสูงสุดโดยวิธีการให้ข่าว. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การจัดการ ความรู้), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐจรีย์ อัจฉริยะกุลพร.(2550). กลยุทธ์การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารภาครัฐและเอกชน,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประอรพิชญ์ คัจฉวัฒนา. (2550).บทบาทและกลยุทธ์งานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยของรัฐ ศึกษาเฉพาะ กรณีมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิทยา บวรพัฒนา. (2530). ประสิทธิผลของหน่วยงาน ทฤษฎีองค์การสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์.เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาทฤษฎีองค์การ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ (เอกสารอัดสำเนา).

พรชัย เชื้อชูชาติ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน เทศบาลในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบรูพา.

สุนันทา ทวีผล.(2550), ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษา แนะนำปัญหา ด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (สคช.). ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.