ประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

รุจิรดา จินดาน้อย

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปปฏิบัติ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ  ไปปฏิบัติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติและประสิทธิผลการนำนโยบายคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุไปปฏิบัติ


       การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 366 ราย ได้แก่ ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


      ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านระดับประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปปฏิบัติ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปปฏิบัติ  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ไม่แตกต่างกัน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติและประสิทธิผลของการนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปปฏิบัติ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว. (2561). ปัจจัยพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานการวิจัย. กำแพงเพชร:มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กนกอร เลิศลาภ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสกลนคร ทพฯ: วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ด้านความมั่นคงในชีวิต.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เรียนรู้สังคม.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดี.

ชรัส ปุณณัสสะ. (2553). ความสำเร็จในการนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ดวงใจ คำคง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตร์) พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ

นุชลี เฉิดสมบูรณ์. (2558). คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยเขตเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ปรางค์ทิพย์ ศรีไทย.(2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วรเดช จันทรศร. (2548). ทฤษฎีการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและ การพิมพ์.

ศิริพร งามขำ. (2561). การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. นครปฐม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์. (2560), แนวทางการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุขอ กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ, รายงานการวิจัย.กรุงเทพฯ:วิทยาลัยการป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2545). นโยบายสาธารณะ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรเดช จันทร์ศร. (2540). การนำนโยบายไปปฏิบัติ, กรุงเทพฯ : กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์)

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ .(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

The WHO group. (1994). The development of the World Health Organization Qual life assessment instruments. In J. Orley, & W. Kuyken (eds.) Quality of life assessment: International perspectives. New York: Springer - Verlag.

The WHOQOL GROUP. (1995). The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): position paper from the World Health Organization. Social Sciences Medicine, 41(10), 1403 - 1409.

Van Meter, Donald S, and Van Horn, Carl E.(1975). “The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework.” Administration & Society.6(4) ,477.

UNESCO. (1978). Indicators of Environmental Quality of Life .Paris: UNESCO.