ประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

มลฤดี ชลอสันติสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จำแนกด้วยลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีถิ่นพำนักอยู่ในพื้นที่ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  จำนวน 200 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นขั้นตอนและอิสสระ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ค่าที ความแปรปรวนทางเดียว สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านการ เปรียบเทียบประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกด้วยลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกัน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับประสิทธิผลของการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ.(2545 – 2565).แผนนโยบายด้ายผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/laws/1/28/828, 30 พฤษภาคม 2565.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). MONICA เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/gallery/1/3517, 30 พฤษภาคม 2565.

กรมประชาสงเคราะห์. (2551). รายงานประจำปีกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กรมประชาสังเคราะห์.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กระทรวงมหาดไทย. (2558). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤษดา จันทร์เจริญ. (2555). ศักยภาพในการนำนโยบายถ่ายโอนงานด้านสวัสดิการสังคมไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 1 ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร.มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

กองสวัสดิการสงคราะห์. (2550).“คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ”, นิตยสารประชาสงเคราะห์, 50(5), 60 – 132.

ชำนาญ แตงทอง. (2553).ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ประชากรศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

ไตรรัตน์ ทองสัมฤทธิ์. (2548). ปัจจัยเกื้อหนุนและสุขภาวะที่ผู้สูงอายุได้รับจากการเข้าร่วมทำงาน อาสาสมัคร.วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.

นพวรรณ จงวัฒนา และคณะ. (2551). ฐานข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตประภา แก้วกระจ่าง. (2550). การประเมินโครงการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการผ็สูงอายุใน หมู่บ้านและชุมชนเมือง (เบี้ยยังชีพ) กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ประสิทธิ์ วิชัย และ ภัทรธิดา ผลงาม. (2559). การวิจัยและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชน กรณีศึกษาในชุมชนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7(1), 103 – 127.

ระพีพรรณ คำหอม และคณะ. (2552).การประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุไทย. เข้าถึงได้จาก:https://shorturl.asia/7zcP1, 30 พฤษภาคม 2565.

ระพีพรรณ คำหอม และคณะ. (2557).รายงานวิจัยเรื่องโครงการการประเมินผลการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

วันทนีย์ วาสิกะสินธุ์ และ นนทพัฒน์ ปัทมดุล. (2558). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชาการระดับชาติ. (2552). บทบาทรัฐและองค์กรชุมชนกับผู้สูงอายุไทย: สถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต.กรุงเทพฯ: หน่วยงานวิชาการระดับชาติ

วิภา ธูสรานนท์. (2550).ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพขององค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ศิริรัตน์ กิ้มขู่.(2550). ความพึงพอใจของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละไกรทอง อำเภอ ไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ที่มีต่อการบริหารงานด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2553). การประกันสังคม (Social Insurance). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.(2559).คู่มือและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ตาม แนวทางบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมณตรี.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สิริกันยา ปานพ่วงศรี. (2553).การจัดสวัสดิการของภาครัฐแก่ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยา).จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 7(1),75 - 81.

สุทิน อ้อนอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดชัยภูมิ.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุภาลักษณ์ เขียวขำ. (2553). การสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน ชมรมผู้สูงอายุ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

โสภา หอยสังฆ์. (2552). ความต้องการการดูแลและการรับรู้การดูแลที่ได้รับจากครอบครัวของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

Gibson and Other. (1982).Organizational: Behavior, Structure, Process Behavior. Dallas,Taxas: Business Publication, Inc.

Yamane, T. (2013) Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore: Harper International Editor.