การประเมินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ลือศักดิ์ สังขกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 209 ราย คือ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ, ชมพูนุท โมราชาติ, และ กัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2560). The Development of the Operational Capacity of the Non-Food Herbal One Tambon One Product (OTOP) Groups. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 207-238.

ภาสกร นันทพานิช กรรณิการ์ บังเกตุ และศาครินทร์ ดวงตะวัน. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพการ

บริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2563). ข้อมูลทั่วไป: โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ One Tambon One Product (OTOP). เข้าถึงได้จาก: https://cep.cdd.go.th/.

อัจจิมา บุตรชารี และ กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2563). การประเมินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัต

วิถีในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, ร้อยเอ็ด.

อนุวัฒน์ สิงทิศ. (2558). ประสิทธิผลการบริหารโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอบางไทร

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

Gibson, J.H., John, M.I. & James H.D. (1982). Organizations: Behavior structure and Processes. (4th ed.), Austin, TX: Business Publications.

Henri Fayol. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.