การประเมินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ชัญชนก ปรีชาชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน  136 คน  แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 101 คน โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้และอาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การประเมินความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดกับปัจจัยส่วนบุคคล ไม่แตกต่างกัน และ 3) ด้านการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดพบว่า เป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2563). การพัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาแบบ 360 องศา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มนพ การกล้า, ชูศักดิ์ เอกเพชร, และนัฏจรี เจริญสุข. (2565). การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศออนไลน์เพื่อการบริหารงาน ของโรงเรียนในเครือข่ายศรีลันตา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจังหวัดกระบี่. วารสารรัชต์ภาคย์.

วรุฒน์ ม่วงนาค. (2564). การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์เพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2. วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Bhagyashri and Kulkarni. (2013). Information Sharing Systemusing Cloud for Education. International Journal of Engineering Research &Technology.

Cheng-Sian Chang, Tzung-Shi Chen and Hsiu-Ling Hsu. (2012). The Implications of Learning Cloud

for Education: From the Perspectives of Learners. 2012 Seventh IEEE International Conference

on Wireless, Mobile and Ubiquitous Technology in Education. IEEE Computer Society.

Cloudtweaks. (2011). What is cloud storage. Retrieved From: http://www.cloudtweaks.com/2011/07/

what-is-cloud-storage-an-outlook-report-from-storage-strategies-now.

Desale, et al. (2013). Software as a Service (SaaS) for Managementinformation system using multiple

tenants. International Journal of Engineering Research and Applications.

Frederic, Jie Pan and Fei Teng. (2013). Cloud Computing Data-Intensive Computing and Scheduling.

New York : Taylor & Francis Group, LLC.

Gartner. (2013). IM (Information Management). IT Glossary. Retrieved From http://www.gartner.com/it-glossary/iminformation-Management.

Harris, Mark. (2011). Cloud Storage Definition: What is Cloud Storage. Retrieved From : http://mp3.about.com/od/glossary/g/Cloud-Storage-Definition-What-Is-Cloud-Storage.htm

Mell and Grance. (2011). The NIST Definition of Cloud Computing. Gaithersburg :National Institute of

Standards and Technology.

Mollah, Islam and Islam. (2012). Next Generation of Computing through Cloud Computing Technology.

th IEEE Canadian Conference on Electrical and Computer Engineering (CCECE). IEEE

Computer Society.

Tumman, Arreerard & Arreerard. (2018). The Development Research and Researcher

Database System in Faculty of Information Technology at Rajabhat Maha Sarakham

University. Maha Sarakham Rajabhat University.