การพัฒนาแบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กัณฑิมา เผือกใต้
ทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาแบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลศรีสำโรง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า


               1) จำนวนนักเรียนอ่านไม่ออกอ่านไม่คล่อง คิดเป็นร้อยละ 15.65 และนักเรียนเขียนไม่ได้เขียนไม่คล่อง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 19.13 และคำที่เป็นปัญหาด้านการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียนมีจำนวน 350 คำ ซึ่งแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของคำ ได้ 6 ชุด พบว่าคำที่นักเรียนอ่านไม่ออกอ่านไม่คล่องเขียนไม่ได้เขียนไม่คล่องมากที่สุดคือคำราชาศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 26.00 คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 24.80 คำสะกดไม่ตรงตามมาตรา คิดเป็นร้อยละ 24.00 คำควบกล้ำ คิดเป็นร้อยละ 23.20  คำตัวการันต์ คิดเป็นร้อยละ 22.82 และคำ รร (ร หัน) คิดเป็นร้อยละ 20.00 2) แบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.72 ทั้ง 6 ชุด เมื่อนำไปทดลองกับกลุ่มย่อย 12 คน ได้ประสิทธิภาพ 85.76/83.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการทดลองใช้แบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ได้ประสิทธิภาพของแบบฝึกของกลุ่มทดลองมีค่าเท่ากับ 88.18/86.52 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน ด้านปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ และผลผลิต ครูผู้ใช้และนักเรียนกลุ่มทดลองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เผือกใต้ ก. ., & มาศเมธาทิพย์ ท. . (2023). การพัฒนาแบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 . วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 3(2), 1–14. https://doi.org/10.2822.EAI.2023484
บท
บทความวิจัย