การสร้างแบบทดสอบวัดความอ่อนตัวแบบเคลื่อนไหวของข้อไหล่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบความอ่อนตัวแบบเคลื่อนไหวของข้อไหล่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่มีสถานะศึกษาอยู่ และมีการลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2/2566 ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต จำนวน 124 คน แบ่งเป็น เพศชาย 89 คน และเพศหญิง 35 คน โดยนำแบบทดสอบความอ่อนตัวแบบเคลื่อนไหวของข้อไหล่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้วิธิีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง และนำไปหาค่าความเชื่อถือได้ โดยใช้วิธีการทดสอบซ้ำ และความเป็นปรนัย โดยใช้ผู้ประเมิน 2 ท่าน ระยะเวลาห่างกัน 2 วัน นำผลคะแนนที่ได้มาสร้างเกณฑ์ปกติ ของแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าคะแนน ที (T-score) ในการสร้างเกณฑ์ปกติ ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า แบบทดสอบความอ่อนตัวแบบเคลื่อนไหวของข้อไหล่วัดมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของกลุ่มกล้ามเนื้อ และกระดูกของข้อไหล่ โดยมีค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 1.00 และความเหมาะสมของแบบทดสอบ เท่ากับ 0.92 ค่าความเชื่อถือได้ ในเพศชาย เท่ากับ 0.946 และเพศหญิง เท่ากับ 0.963 และความเป็นปรนัย เพศชาย เท่ากับ 0.972 และเพศหญิง เท่ากับ 1.000 โดยทดสอบความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า แบบทดสอบนี้มีคุณภาพที่ดีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา และสามารถนำไปเทียบค่ากับเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาความอ่อนตัวของข้อไหล่ โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ซึ่งในเพศชาย มีอันตรภาคชั้น เท่ากับ 19 ซม. (ค่าสูงสุด 39 ซม. และต่ำสุด 135 ซม.) และเพศหญิง มีอันตรภาคชั้น เท่ากับ 13.6 ซม. (ค่าสูงสุด 30 ซม. และต่ำสุด 98 ซม.)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรวี บุญชัย. (2555). การวัดเพื่อการประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย: หลักการเลือกใช้เทคนิคทางสถิติในงานวิจัย พร้อมทั้งอธิบายผลลัพธ์ที่
ได้จาก SPSS. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บุญส่งโกสะ. (2547). การวัดผลและประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชิต ภูติจันทร์. (2547). การทดสอบและการประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พูนศักดิ์ ประถมบุตร. (2532). การทดสอบและการประเมินผลพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝ ึ กกีฬาส าหรับผู้ฝ ึ กสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: ส ำนักพิมพ์แห่งจุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัย
สุพิตร สมาหิโต. (2541). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย Kasetsart youth fitness test. กรุงเทพฯ: ภาควิชา
วิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุพิตร สมาหิโต. (2542). การสอนสมรรถภาพทางกายในวิชาพลศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 14(2), 1-13.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ
สาม (พ.ศ.2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ.
ศิริชัย กำญจนวำสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬำลงกรณ์
มหำวิทยำลัย.
Borstad., J. D. (2006). Resting position variables at the shoulder: Evidence to support a posture-
impairment association. Physical Therapy, 86(4), 549-557.
Ebaugh, D. D., McClure, P. W. and Karduna, A. R. (2006). Effects of shoulder muscle fatigue caused by
repetitive overhead activities on scapulothoracic and glenohumeral kinematics. Journal of
Electromyography and Kinesiology, 16, 224-235.
Ludewig, P. M., Cook, T. M. and Nawoczenski, D. A. (1996). Three-dimensional scapular orientation and
muscle activity at selected positions of humeral elevation. Journal of Orthopedic & Sports
Physical Therapy, 24(2), 57-65.
Ludewig, P. and Cook, T. (2000). Alterations in shoulder kinematics and associated muscle activity in
people with symptoms of shoulder impingement. Physical Therapy, 80(3), 276-291.
Spinder, K. P., Dovan, T. T. and McCarty, E. C. (2001). Assessment and management of the painful
shoulder. Sports Medicine, 3(5), 26-34.