การศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3

Main Article Content

อริสา คงกะพัน
สาธร ทรัพย์รวงทอง
สุพัฒนา หอมบุปผา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ
2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 26 คน และครู จำนวน 276 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 และค่าความเที่ยง 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างแบบรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า


               1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีทักษะสูงสุดคือทักษะการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมากและทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีทักษะต่ำสุด คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันและจำแนกตามประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำนวน 2 คู่ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง น้อยกว่า 6 ปี กับ 6-10 ปี และผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง น้อยกว่า 6 ปี กับตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไป

Article Details

How to Cite
คงกะพัน อ. ., ทรัพย์รวงทอง ส. ., & หอมบุปผา ส. . (2024). การศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(1), 134–146. https://doi.org/10.2822.EAI.20241081
บท
บทความวิจัย