การศึกษาปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

Main Article Content

เขมจิรา อินตระกูล
สายทิตย์ ยะฟู
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา และเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กำหนดขนาดโดยการใช้ตารางเครซี่แอนด์มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 331 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67 - 1.00 และมีค่าความเที่ยง 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาพบความแตกต่างจึงทำการทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า


               1) ปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสุดคือ ด้านการประเมินผลและการรายงาน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการควบคุมงบประมาณ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีปัญหาต่ำที่สุดคือด้านการจัดทำงบประมาณ ซึ่งอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งปัจจุบันและระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .05 เมื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยภาพรวม พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งปัจจุบันต่ำกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาน้อยกว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งปัจจุบัน 5 – 10 ปีและมากกว่า 10 ปี

Article Details

How to Cite
อินตระกูล เ. ., ยะฟู ส. ., & โพธิพิทักษ์ ป. . . (2024). การศึกษาปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(1), 118–133. https://doi.org/10.2822.EAI.20241047
บท
บทความวิจัย