แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

Main Article Content

มานะ โดดชัย
ศศิรดา แพงไทย
สมใจ มณีวงษ์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 325 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน กลุ่มผู้ประเมินแนวทาง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า


         1. สภาพที่ปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และองค์ประกอบที่มีต้องการจำเป็นมากที่สุดคือการเป็นผู้ใช้งานดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว มีค่า PNI Modified (0.34)


         2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ประกอบด้วย 5 ด้าน 17 แนวทาง ซึ่งได้แก่ 1) การเป็นผู้ใช้งานดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่วจำนวน 3 แนวทาง 2) ความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ จำนวน 3 แนวทาง 3) ผู้บริหารสถานศึกษามีการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์และการบริหารจัดการคุณภาพ จำนวน 3 แนวทาง 4) การมีวิสัยทัศน์ จำนวน 4 แนวทาง 5) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล จำนวน 4 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นํา Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัททริปเพิ้ลกรุ๊ป จํากัด.

ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา. 17(79), 11-20.

ณัฐวิภา อุดชุมนารี และอมรทิพย์ เจริญผล. (2565). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็น

ของครูในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(2), 103-116.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร. 13(2), 285-294.

นราธิป โชคชยสุนทร์ และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(80), 90-95.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน 1(3), 53-62.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณิกา สุบรรณาจ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุภวัช เชาวน์เกษม และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Sheninger, E. C. (2014). Digital leadership : changing paradigms for changing times.United States of America: Corwin.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement.