การมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย เพื่อส่งเสริมให้วัด บ้าน โรงเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 5ส โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน อันจะก่อให้เกิดพฤติกรรมอัตโนมัติ ผ่านปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การดำเนินงานต่อเนื่องเชิงนโยบาย และกระตุ้นการดำเนินงานตามขั้นตอน 5ส คือ การจัดตั้งคณะกรรมการ 5ส การประกาศนโยบาย 5ส การสำรวจพื้นที่ การจัดทำแผนปรับปรุง การทำความสะอาดใหญ่ ตรวจประเมินพื้นที่ และการสรุปติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ 1) มุ่งสร้างมาตรฐาน 2) สร้างมาตรฐานดี 3) สร้างมาตรฐานดีเด่น และ 4) สร้างมาตรฐานดีเยี่ยม ดังนั้น บทความนี้จึงมุ่งศึกษา 1) แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส 2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนของชุมชน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส ประกอบด้วย 2.1) การมีส่วนร่วมของ “บวร” ในการคิดวิเคราะห์และวางแผน 2.2) การมีส่วนร่วมในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามกิจกรรม 5ส 2.3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลและรับผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และปัญญา ในปัจจุบันและอนาคต
Article Details
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของ “บวร” เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.
กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือการดำเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข : พัฒนาวัดตามแนวทาง 5ส ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. (2561). คู่มือและกรณีศึกษาการดำเนินงานโครงการฯ. ปทุมธานี: คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี.
ฝ่ายสาธารณูปการ มหาเถรสมาคม. (2563). คู่มือและแนวปฏิบัติโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.
พระครูสังฆรักษ์อนันต์ สุทฺธิมโน และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(1), 172-182.
พระครูสิริธรรมบัณฑิต และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาวัดด้วยวิถี 5ส โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของวัดมิ่งเมืองมูล. วารสารวิจัยวิชาการ. 4(1), 23-36.
พระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน และคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5ส จังหวัดสิงห์บุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(1), 198-209.
พีรพงษ์ ตลับทอง. (2565). การขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 84-96.
ยุรนันท์ ตามกาล. (2557). บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว. วารสาร HR intelligence. 9(1), 12-31.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2550). ทฤษฎีกิจกรรม 5ส ให้สัมฤทธิ์ผลนั้นมาจากคน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สำนักงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข. (2564). เกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข 4 ระดับ ประจำปี พ.ศ. 2564. ปทุมธานี: สำนักงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). วัดพัฒนาตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.
สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). พื้นฐานทางการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Arnstien, S.R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Institute of Planners. 35(4), 216-224.
Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Berkley, G.E. (1975). The craft of public administration. Boston : Allyn and Bacon, Inc.
William, E. (1976). Electoral Participation in a Low Stimulus Election. Rural Development. 4(1), 111–124.