CARES MODEL นวัตกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า ภายใต้สถานการณ์การดำรงชีวิตวิถีใหม่ จากผลกระทบ COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ได้นำเสนอการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า ด้วยนวัตกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกัลยาณวัตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาขอนแก่น ที่ได้จากการศึกษาสังเคราะห์วรรณกรรมไทยและต่างประเทศ และนโยบายด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาขอนแก่น CARES Model ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ C : Confidence : การรู้จักและคัดกรองนักเรียน เป็นรายบุคคล สร้างความเชื่อมั่น มั่นใจในมาตรการความปลอดภัย และระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน A : Arrangement : การเตรียมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในเชิงรุก โดยการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คัดกรองภาวะซึมเศร้า 4 ระดับ (กลุ่มปกติ กลุ่มเข้าใจ กลุ่มรู้ใจ กลุ่มใส่ใจ) ส่งเสริมสนับสนุน ให้คำแนะนำ R : Recovery : การฟื้นฟู ดูแล เยียวยา ส่งเสริม และพัฒนานักเรียนผ่านระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน โดยสหวิชาชีพ E : Efficiency : กระบวนการพัฒนา ปรับปรุง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ S : Safety Zone : มาตรการโรงเรียนปลอดภัย การดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียนทุกมิติ อย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน โดยมีการส่งต่อทั้งภายในและภายนอก เป็นนวัตกรรมที่มีจุดเด่นคือ เป็น นวัตกรรมที่ใช้สำหรับดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า ภายใต้สถานการณ์การดำรงชีวิตวิถีใหม่ จากผลกระทบ COVID-19
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
โรงเรียนกัลยาณวัตร. (2566). แผนปฏิบัติการโรงเรียนกัลยาณวัตร ประจำปี พ.ศ.2566. ขอนแก่น: ฝ่ายอำนวยการ โรงเรียนกัลยาณวัตร.
โรงเรียนกัลยาณวัตร. (2566). รายงานการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษา ประจำปี พ.ศ.2566. ขอนแก่น: ฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนกัลยาณวัตร.
วริษรา จินุรักษ์. (2564). คู่มือการปฏิบัติงานการดูแลนักศึกษากลุ่มพิเศษที่มีภาวะซึมเศร้า นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมเคมีและเคมีเภสัชกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
วัสสิกา รุมาคม และ ฐิชากาญจน์ พัชรจิราพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(6), 16-30.
ศญาดา ไทยวัฒนา. (2565). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นกับบทบาทอาจารย์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา. 1(2), 54-64.
ศิริพร ชาวสุรินทร์ และคณะ. (2564). ผลกระทบของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อเด็กป่วยโรคเรื้อรังและแนวทางการดูแล. วชิรสารการพยาบาล. 23(2), 97-107.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). หนีความอยากตายจากโรคซึมเศร้า. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).