รูปแบบการครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์

Main Article Content

จำเนียร ฉิรินัง, พระมหาสากล สุภรเมธี, สงวน หล้าโพนทัน

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยเรื่อง รูปแบบการครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทย 2) ศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับการครองเรือน 3) สร้างรูปแบบการครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์ และ 4) เสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 รูป/คน คือ กลุ่มพระสงฆ์ 5 รูป กลุ่มนักวิชาการ 5 รูป/คน กลุ่มประชาชน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา


         ผลการวิจัยพบว่า:


         1. การครองเรือนที่คู่สมรสปรารถนาจะอยู่ร่วมกันด้วยความสมัครใจใช้ชีวิตแบบฆราวาสวิสัยมีธรรมะและความรักเป็นเครื่องปฏิบัติร่วมกัน 2. การครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์ถือปฏิบัติตามหลัก 1) ฆราวาสธรรม 2) ศีล 5 3) โยนิโสมนสิการ 4) ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และ 5) หลักทิศ 6 3. รูปแบบการครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทยตามหลักพุทธจริยศาสตร์ มี 5 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบรักเดียวใจเดียว 2) รูปแบบการขจัดความขัดแย้งในครอบครัว 3) รูปแบบทางอารมณ์ 4) รูปแบบทางด้านเศรษฐกิจในครอบครัว และ 5) รูปแบบการปฏิบัติหน้าที่สามี/ภรรยา 4. องค์ความรู้รูปแบบการครองเรือนที่พึงประสงค์ “FBDR AEW MODEL” 1) F = Family problems หมายถึง ปัญหาการครองเรือน 2) B = Buddhist ethics หมายถึง หลักพุทธจริยศาสตร์ที่นำมาใช้ในการครองเรือน 3) D = Desired style of living หมายถึง รูปแบบการครองเรือนที่พึงประสงค์ของสังคมไทย และ 4) R = Resulting in หมายถึง คู่สามีภรรยาได้ปฏิบัติตามหลักพุทธจริยศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2554). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

บุญประคอง ภาณุรัตน์. (2531). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความไม่มั่นคงในชีวิตสมรส : ศึกษากรณีสตรีที่สมรสแล้วภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและเอกชน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2557). พระพุทธศาสนาเถรวาท. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ธรรมสภา. (2545). ชีวิต การงาน หลักธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม.

พชรพร หงส์สุวรรณ. (2555). เหตุทำให้คดีอาญายอมความได้ : ศึกษากรณีความผิดบางฐานระหว่างสามีภริยา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระครูนิภาสธรรมาธิมุต (อำพร ปริมุตฺโต). (2553). การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญแทน ขันธ์ศรี. (2539). ศึกษาเปรียบเทียบหลักคำสอนเกี่ยวกับการครองเรือนในพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2566). ต้นไม้แห่งชีวิตคู่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). ชีวิตคู่ที่มีคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). ภูมิธรรมชาวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมมิก จำกัด.

พระมหาวิจิตร คมฺภีโร (ศิริรัตน์). (2548). อุดมคติชีวิตคู่สมรสในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระเมธีวราภรณ์. (2553). เบญจศีลเบญจธรรมอุดมชีวิตมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ต้นบุญ.

พระสุพัฒน์ อนาลโย (พลรักษา). (2557). การนำความซื่อสัตย์มาใช้เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภิรมย์ บุญยิ้ม. (2554). การศึกษาหลักการเลือกคู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไสว มาลาทอง. (2542). คู่มือจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพัตรา สุภาพ. (2539). ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สุมัทนา สินสวัสดิ์. (2557). ครอบครัว : การจัดการความขัดแย้งของคู่สมรสเพื่อการครองรักอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2540). พุทธวิธีสอนจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: เพชรรุ่ง.