ผลกระทบทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส ของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับผลกระทบทางธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส (2) การดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบทางธุรกิจกับปัจจัยการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับผู้ตัดสินใจซื้อสินค้าภายในร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ จำนวน 385 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยผลกระทบทางธุรกิจ และปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.68 และ 3.98 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .743 และ .819 ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาสของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัจจัยผลกระทบทางธุรกิจ ด้านเศรษฐกิจ (Sig.=.000) ด้านการเมืองและกฎหมาย (Sig.=.000) ด้านเทคโนโลยี (Sig.=.000) และด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sig.=.010) พยากรณ์การดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาสของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ได้ร้อยละ 64.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับผลกระทบทางธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส (2) การดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบทางธุรกิจกับปัจจัยการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับผู้ตัดสินใจซื้อสินค้าภายในร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ จำนวน 385 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยผลกระทบทางธุรกิจ และปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.68 และ 3.98 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .743 และ .819 ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาสของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัจจัยผลกระทบทางธุรกิจ ด้านเศรษฐกิจ (Sig.=.000) ด้านการเมืองและกฎหมาย (Sig.=.000) ด้านเทคโนโลยี (Sig.=.000) และด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sig.=.010) พยากรณ์การดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาสของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ได้ร้อยละ 64.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05