บูรณาการคุณค่าของพิธีพุทธาภิเษกที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์ของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติพัฒนาการและคุณค่าของพิธีพุทธาภิเษก 2) ศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์ 3) บูรณาการคุณค่าของพิธีพุทธาภิเษกที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์ และ 4) เสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของพิธีพุทธาภิเษกที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มพระสังฆาธิการที่มีความรู้ด้านพิธีพุทธาภิเษก จำนวนทั้งสิ้น 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลจากการวิจัยพบว่า:
1) ประวัติพัฒนาการและคุณค่าของพิธีพุทธาภิเษกเป็นแนวคิดและระบบความเชื่อที่นำไปสู่พิธีกรรม คือ ความเชื่อด้านศาสนาพุทธ พราหมณ์และผี ต้องการให้คนยึดมั่นในพระรัตนตรัย เสริมจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ และละจากมิจฉาทิฐิมาสู่สัมมาทิฐิ 2) การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์ การนำหลักพุทธจริยศาสตร์มาบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของประชาชน เพื่อลดปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตของคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 3) บูรณาการคุณค่าของพิธีพุทธาภิเษกที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นคุณค่าด้านความเชื่อความศรัทธา คุณค่าด้านการดำเนินชีวิต คุณค่าด้านพิธีกรรมศาสนา คุณค่าด้านการพัฒนาและสังคมสงเคราะห์ และคุณค่าด้านความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีพุทธาภิเษก โดยนำหลักพุทธจริยศาสตร์คือศีล 5 และหลักทฤษฎีจิตวิทยาของ Maslo มาใช้ 4) ได้องค์ความรู้ที่เรียกว่า “VAW MODEL” คือ V = Valuel คือ คุณค่า เกิดจากพิธีพุทธาภิเษก, A = Ascendent คือ อิทธิพลที่มีต่อการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์, W = Way of life คือ การดำเนินชีวิตของปัจเจกชน สังคม ชุมชน สาธารณชนมีความสงบร่วมเย็น มีระเบียบวินัย ส่งผลให้การใช้ชีวิต การมีชีวิต การดำเนินชีวิต วิถีชีวิตดีขึ้นอันเป็นอิทธิพลมาจากการทำพิธีพุทธาภิเษก
Article Details
References
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้านอีสาน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
เดือน คำดี. (2541). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญเรือง อินทวรันต์. (2527). พระพุทธมนต์และคุณค่าทางจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเทือง คลายสุบรรณ. (2531). วัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สายส่งศึกษิต.
พระชาย วรธมโม. (2544). ฉลาดทำบุญ. กรุงเทพมหานคร: เม็ดทราย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯมหานคร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัชนีกร เศรษโฐ. (2532). โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมไท. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2548). วิสัยทัศนกว้างไกล ศูนย์วิจัยกสิกรไทยบริการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2540). พุทธวิธีสอนจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: เพชรรุ่งการพิมพ์จำกัด.
นริศ ปัญญาบุตร. (2553). แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาวัตถุมงคลจังหวัดมุกดาหาร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์). (2555). บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหายุทธการ ปญฺญาสิริ (สัจรัตนพงศ์). (2547). ศึกษาศรัทธาในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สีธาตุ ถนอมรัก. (2551). ความเชื่อและพิธีกรรมในพิธีพุทธาภิเษก กรณีศึกษาบ้านแคนดง ตำบลสระบัว อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2529). ความเชื่อของคนภาคใต้ ในสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.
อัจฉราวรรณ กันจินะ. (2562). พุทธบูรณาการในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้เกษียณอายุราชการ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุทัย กมลศิลป์. (2561). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดพุทธจริยศาสตร์กับการลงโทษประหารชีวิต. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.