องค์ประกอบและแนวทางในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล

Main Article Content

ภูกิจ กุละปาลานนท์
สมบัติ นพรัก
สุนทร คล้ายอ่ำ
สันติ บูรณะชาติ

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวม 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


         ผลการวิจัย พบว่า


         1. องค์ประกอบในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากลมีจำนวน 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการสร้างเครือข่าย


         2. แนวทางในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล เป็นแนวทางการจัดการศึกษาเชิงระบบ PDCA ด้านหลักสูตร พบว่า มีการนำหลักสูตรมาตรฐานจากต่างประเทศมาปรับใช้ และมีการนำผลประเมินการใช้หลักสูตรมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษให้ดียิ่งขึ้น ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า มีการวางแผนส่งเสริม และพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีการวางแผนการบริหารจัดการตามมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนนานาชาติ เป็นต้น ด้านการบริหารจัดการระบบคุณภาพ พบว่า มีการวางแผนการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีคุณภาพ โดยนำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพในระดับสากลมาประยุกต์ใช้ ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า มีการกำหนดนโยบายให้ครูดำเนินการวัด และประเมินผลตามสภาพจริงบนพื้นฐานของความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ พบว่า มีการจัดทำแผนงานในการดูแลสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ด้านการสร้างเครือข่าย พบว่า มีการสร้างเครือข่ายกับสถานศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คงศักดิ์ ชมชุม. (2557). มาตรฐานและตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดการการศึกษาด้านอุตสาหกรรมการบิน.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2556). การบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาสำหรับอนาคต. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไทยพับลิก้า. (2014). เมื่อกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อย 16 ปี 15 คน. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://thaipublica.org/2014/01/the-performance-period-of-the-minister-of-education/

แนวหน้า. (2562). นานาชาติกล่าวว่าการศึกษาของไทยด้อยคุณภาพมีวิธีการปรับปรุงอย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://www.naewna.com/politic/460120

ยุพิน บุญประเสริฐ และคณะ. (2562). แนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากล วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 3(1), 25-33.

วิสิทธิ์ศักดิ์ ชัยเกิด. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการยกระดับคุณภาพ การศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริพร ตันติยะมาศ. (2550). รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรวี ศุนาลัย. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). FOCUS ประเด็นจาก PISA : 21 (กันยายน 2560). เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-2

อินตอง ศรีอุดม. (2552). รูปแบบการพัฒนาการวัดผลและการประเมินผลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544: กรณีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 96 (ชุมชนบ้านธาตุ). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราซภัฏเลย.

Joseph Mathew and Beatriz Joseph. (1977). Service quality in education: a student perspective. Quality Assurance in Education. 5(1), 15-21.

Lisa Larson. (2012). Evaluating Minnesota’s School Principals (2012). Retrieved on 12 October 2020. From http://www.house.mn/hrd/hrd.htm