การจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่มีต่อทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการวัด ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการวัดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านม่วงท่าลาด ตำบลม่วงลาด อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาด กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้จำนวน 24 แผน แบบทดสอบการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการวัดของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการวัดของเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการเสาะหา สำรวจ ตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยการฝึกคิด ปฏิบัติ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ครูผู้สอนมีหน้าที่จัดสภาพการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นการสำรวจ 3) ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป 4) ขั้นขยายความรู้ และ5)ขั้นการประเมินผล 2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการวัดหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
กฤษณา สังข์วะระปรีชา. (2555). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กนักวิจัยที่ต่อการสังเกต การจำแนกและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุลีพร สงวนศรี. (2550). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาเด็กปฐมวัยกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิลซิ่ง.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2563). เรียนรู้แบบสืบเสาะสำหรับเด็กปฐมวัย (Inquiry-based Learning). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). แนวทางจัดการเรียนวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). คู่มือการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพศึกษานิเทศก์และครูปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย2546. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมพร พรหนองแสน. (2554). การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบเน้นประสาทสัมผัส เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.