ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยแบบออนไลน์ของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เสรี จรัสนิรัติศัย
บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์
มณีกัญญา นากามัทสึ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และการตัดสินใจซื้อ และ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัท จำนวน 400 คน ภายใต้แนวคิดของ Cochran et al., (1953) ด้วยวิธีไม่อาศัยความน่าจะเป็น (non-probability) และใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.59, 3.67, และ 4.02 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.94, 0.94, และ 0.78 ตามลำดับ และ 2) พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ผ่านการยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.773 และการยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลรวมต่อการตัดสินใจซื้อ มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.356 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าการยอมรับเทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิวรรณ หาจันดา และศุภสัณฑ์ ปรีดาวิภาค. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพ กรณีศึกษาแบบประกันสุขภาพของบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน). ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (น. 537-547). บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.

มทินา ธนภักดิ์หิรัญ. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

ศิริขวัญ วาวแวว และนภาวรรณ เนตรประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 10(1), 121-132.

หฤทัย พงษ์ศิริโสภาพร. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรนี ยาโก๊ะ, นิธิศ ไพบูลย์ และวิลาวัลย์ จันทร์ศรี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัย (โรคโควิด-19) ของกลุ่มประชากรในจังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 (น. 2955-2967). บัณฑิตวิทยาลัย, สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice-hall Inc.

Cochran, W. G., et al. (1970). Statistical problems of the Kinsey report. Journal of the American Statistical Association. 48(264), 673-716.

Funcrowd. (2022). พฤติกรรมผู้บริโภค 5 พฤติกรรมที่พบได้บ่อยสุดในยุค Covid. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2566 จาก https://funcrowd.co.th.

Hair, E., et al.(2006). Children's school readiness in the ECLS-K: Predictions to academic, health, and social outcomes in first grade. Early Childhood Research Quarterly. 21(4), 431-454.

Hair, J. F.,et al. (2014). Pearson new international edition. Multivariate data analysis. (7th Edition). Pearson Education Limited Harlow, Essex.

Hambleton, R. K., & Cook, L. L. (1977). Latent trait models and their use in the analysis of educational test data. Journal of educational measurement. 14(2), 75-96.

Ntini, P., et al. (2022). Consumer Acceptance of Online Banking in Zimbabwe: An Extension of the Technology Acceptance Model. Indiana Journal of Humanities and Social Sciences. 3(3), 29-44.

Nunnally, J.C. (1978). An Overview of Psychological Measurement. In: Wolman, B.B. (eds) Clinical Diagnosis of Mental Disorders. Boston, MA: Springer.

Purohit, H., et al. (2023). Technology Acceptance Model and Attitude of Consumers towards Online Shopping with Special Reference to UAE. International Journal of Computations, Information and Manufacturing (IJCIM). 3(1), 35-48.

Singh, K., & Basu, R. (2023). Online consumer shopping behaviour: A review and research agenda. International Journal of Consumer Studies. 47(3), 815-851.

Thilina, D. K., & Gunawardane, N. (2019). The effect of perceived risk on the purchase intention of electric vehicles: an extension to the technology acceptance model. International Journal of Electric and Hybrid Vehicles. 11(1), 73-84.

Vahdat, A., et al. (2021). Would you like to shop via mobile app technology? The technology acceptance model, social factors and purchase intention. Australasian Marketing Journal. 29(2), 187-197.