ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรในบริษัทรับเหมาตกแต่งภายในประเภทเฟอร์นิเจอร์บิวด์อินแห่งหนึ่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศักดิ์ชัย แซ่จ๊ง
วิชากร เฮงษฎีกุล

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันองค์กร 2) ปัจจัยความผูกพันองค์กร แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนออิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานภายในบริษัทรับเหมาตกแต่งภายในประเภทเฟอร์นิเจอร์บิวด์อินแห่งหนึ่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอาศัยความน่าจะเป็น และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression)


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันองค์กร อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81 และ 3.93 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .718 และ .601 ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน ส่งผลต่อความผูกพันองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน สภาพการปฏิบัติงาน และการบังคับบัญชา ส่งผลต่อความผูกพันองค์กร โดยมีค่า R2=.580 หรือคิดเป็น 58.0 เปอร์เซ็นต์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และปริญญ์ ศุกรีเขตร. (2564). ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(40), 96-110.

แก้วตา เข้มแข็ง. (2559). ทฤษฎีแรงจูงใจ. เรียกใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2566 จาก https://www.gotokno w.org/posts/208291.

จีราวรรณ ชูแก้ว. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ฐิตาภัทร์ ทุทุมมา. (2563). แรงจูงใจในการทำงานที่ผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่าย บิวตี้แอนด์เซลล์ (Beauty & Sale) กรณีศึกษา บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีรดา ไชยบรรดิษฐ. (2562). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

บุศราคัม รักท้วม. (2562). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

มณีรัตน์ ทองโอน. (2564). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริภูมิ ผายรัศมี. (2564). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของพนักงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัทตัวแทนจำหน่าย และศูนย์บริการรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. Pathumthani University Academic Journal. 13(2), 76-92.

Ahmed, S., et al. (2020). A study on trust restoration efforts in the UK retail banking industry. The British Accounting Review. 52(1), 100871-100914.

Grier, W. A. (2007). Credit analysis of financial institutions. (2nd ed). United Kingdom: Euromoney Books.

Hair, E., et al. (2006). Children's school readiness in the ECLS-K: Predictions to academic, health, and social outcomes in first grade. Early Childhood Research Quarterly. 21(4), 431-454.

Fredricks, R. (1959). Herzberg’s Two-Factor Theory of Motivation. Harvard Business Review, 46(1), 53–62.

Nunnally, J. C. (1978). An Overview of Psychological Measurement. In: Wolman, B.B. (eds) Clinical Diagnosis of Mental Disorders. Boston, MA: Springer.

Pinder, C. C. (2014). Work motivation in organizational behavior. psychology press.

Purich, K., et al. (2022). Analysis of 100 consecutive colorectal cancers presenting at a Canadian tertiary care centre: delayed diagnosis and advanced disease. Canadian Journal of Surgery. 65(Special), S66-S66.

Quick, D., & Choo, K. K. R. (2014). Impacts of increasing volume of digital forensic data: A survey and future research challenges. Digital Investigation. 11(4), 273-294

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York, Evanston & London and John Wetherill, Inc.