รูปแบบการพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบการพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระครูโพธิสีลคุณ, สงวน หล้าโพนทัน, อุทัย กมลศิลป์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดร้อยเอ็ด 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก คือ พระสังฆาธิการ ผู้ชำนาญด้านพุทธศาสนาและบุคคลทั่วไปแล้วสรุปเป็นภาพรวม เพื่อนำมาสร้างรูปแบบกิจกรรมฝึกอบรมเยาวชนให้มีประสิทธิภาพ


         ผลการวิจัย พบว่า: 1) การพัฒนาเยาวชน คือ การสร้างสังคมที่ยั่งยืนและถูกต้องนั้น ต้องมีวิธีการเรียนรู้และสนับสนุนในการดำรงชีวิต เป็นรากฐานอนาคตที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหานั้นใช้หลักภาวนา 4 มากำหนดแก้ปัญหาทางสังคม เป็นต้น 2) การนำหลักพุทธปรัชญามาศึกษาวิเคราะห์ด้วยใช้เหตุผลตามวิธีการ ให้รู้คุณค่าชีวิต ทำเป็นแรงบันดาลใจให้ดำเนินชีวิตอันดีงามตามอุดมคติเท่าที่จะขึ้นได้ การใช้หลักพัฒนากาย, ศีล, จิต, และปัญญาภาวนา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ถูกต้อง 3) การสร้างรูปแบบการพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดร้อยเอ็ด ทำเป็นกระบวนการ รับรู้ด้านพุทธปรัชญา พร้อมร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน มีเมตตาต่อกัน ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างหลักสูตรเยาวชนต้นแบบตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือ หลักภาวนา 4 ด้วยเจริญกายภาวนา อบรมศีล ฝึกจิตและพัฒนาปัญญา เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ต่อไป และ 4) นำเสนอองค์ความรู้ในรูปแบบภาวนา 4 เพื่อพัฒนาฝึกอบรมเยาวชน เมื่อปฏิบัติธรรมตั้งแต่ยังเยาว์ มีภูมิคุ้มกัน มีคุณธรรมคุ้มครองตน อันเกิดจากการอบรมอย่างต่อเนื่อง จึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี การนำเสนอนี้ คือ การสร้างต้นแบบปลูกฝังหลักพัฒนาทางกายให้เข้มแข็ง มีศีลคุ้มกันทางสังคม มีจิตใจดีและสติปัญญาเลิศให้กับเยาวชนไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติชัย สุทธสิโนบล. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวพุทธ เพื่อสะท้อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทแห่งสังคมไทยยุคปัจจุบัน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 5(1), 149-164.

กิตติญาภรณ์ ร้อยหมื่นไว และ ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2562). รูปแบบการพัฒนานักศึกษาตามหลักภาวนา 4 กรณีศึกษา วิทยาลัยสยามบริหารธุรกิจ จังหวัดนนทบุรี. Journal of Teaching Social Studies. 2(1), 8-20.

พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ และคณะ. (2565). การพัฒนาจริยธรรมขั้นพื้นฐานในเยาวชนด้วยหลักภาวนา 4. Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani. 5(1), 98-109.

พระครูสุทธิวรญาณ และคณะ. (2565). ภาวนา 4 หลักธรรมเป็นธรรมเพื่อการพัฒนาองค์กรและทำให้คนได้รวบรวมความคิดที่ดีและมีความสามารถ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2546). พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมพร จันทสีโล และคณะ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในชุมชนบ้านหนองไฮ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตามหลักภาวนาธรรม 4 ประการ. Journal of Modern Learning Development. 5(3), 78-92.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์. (2565). การพัฒนาศักยภาพและการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเด็ก child abuse แบบองค์รวมของทีม สหสาขาวิชาชีพ. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรสิทธิสิน หงส์ทอง และคณะ. (2566). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุภายในเขตเทศบาลเมืองพิชัย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. 6(2), 155-168.

อภิจิตร อนันตประยูร. (2562). การพัฒนาวิศวกรสันติภาพโดยภาวนา 4. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 6(2), 397-411.