การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารการศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารการศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารการศึกษา จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า:
1) สภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารการศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการบรรจุและการแต่งตั้ง ด้านการออกจากราชการ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารการศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารการศึกษา 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการวางแผนกำหนดตำแหน่ง (2) ด้านการบรรจุและการแต่งตั้ง (3) ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (4) ด้านวินัยและการรักษาวินัย (5) ด้านวินัยและการรักษาวินัย และ (6) ด้านการออกจากราชการ
Article Details
References
จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ผ่องพรรณ พลราช. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences. 1(1), 27-41.
ปฐมาภรณ์ โพธิ์กลัด, สมหญิง จันทรุไทย (2561). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9(2), 239-254.
ปาริฉัตร นวนทอง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1434-1449..
ธงชัย สันติวงษ์. (2542). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. ตักสิลาการพิมพ์.
วนิดา เหลนปก. (2560). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (สวราษฎร์อุปถัมภ์). การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สาลี่ ประทุมวงศ์. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). รายงานผลการประเมินภายในของสถานศึกษา. ร้อยเอ็ด: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ สำนักงาน กศน. พ.ศ 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สมควร ทรัพย์บำรุง. (2551). การบริหารสำนักงานเลขานุการคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Porter-O’Grady, T., & Malloch, K. (2010). Innovation leadership: Creating the landscape of healthcare. Sudbury, MA: Jones & Bartlett Learning.