การเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธธรรมของตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระธนพล ธนปาโล (ศรีบุรินทร์), พระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนค่ายบกหวาน และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักสาราณียธรรม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน15รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอ


          ผลการวิจัยพบว่า:


          1. การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เป็นการสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน เสริมสร้างค่านิยมรูปแบบใหม่ที่ยอมรับร่วมกัน บนฐานความไว้เนื้อเชื่อใจ และเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายใน มาเป็นเครื่องมือในการสร้างสันติสุขให้แก่ชุมชน ภายใต้บริบทของชุมชน


         2. การศึกษาหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การนำหลักสาราณียธรรม มาเสริมสร้างชุมชนสันติสุขเป็นพลังสำคัญที่ผลักดันขับเคลื่อนให้สังคมเกิดสันติสุขได้ ลดความขัดแย้งขจัดความเห็นแก่ตัวป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ความรุนแรงจากความขัดแย้ง หลักพุทธธรรมสะท้อนให้เห็นอิงอาศัยหลักพุทธธรรมนำหลักการสาราณียธรรม มาแก้สภาพปัญหาชุมชนตำบลค่ายบกหวานร่วมกัน


         3. จากการวิเคราะห์การเสริมสร้างชุมชนสันติสุข ของตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย แนวทางเป็นการประยุกต์คือการส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความสงบ สุขทั้งภายใน และภายนอก มีความเป็นเอกภาพและสอดคล้อง หลักพุทธภายใต้กรอบหลักสาราณียธรรม เป็นการสงเคราะห์อย่างหนึ่ง ที่มุ่งเน้นถึงการ เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และการพัฒนาชุมชน เสริมสร้างพัฒนาชีวิตในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยากร ลาภเดโช และสุกิจ ชัยมุสิก. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7(2). 263-274.

จรรยา ศิริอรรถ และพระปลัดสมชาย ปโยโค. (2561). การจัดการความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนโดยพุทธสันติ กรณีท่าอากาศสุวรรณภูมิ,วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 4 (2).144-158.

พระมหานำเกียรติ วิสุทฺโธ (ทองทวี). (2564). การบริหารจัดการชุมชนสร้างสรรค์ตามหลักสาราณียธรรม 6. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8(3), 14-24.

จรรยา ศิริอรรถ และพระปลัดสมชาย ปโยโค. (2559). การจัดการความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนโดยพุทธสันติวิธี กรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4(2), 144-158.

พระสมุห์อมร อมโร (สีดำ) และคณะ. (2562). หลักสาราณียธรรม : แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(4), 1726-1742.

ภาวัฒน์ พันธ์แพ. (2547). ผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้, วารสารมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 24(3), 51-62.

สุทัศน์ ประทุมแก้ว และคณะ. (2565). พหุวัฒนธรรม : การอยู่ร่วมกันของชุมชนตามแนวสาราณียธรรมเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10(5), 2313-2325.

อภินันท์ จันตะนี. (2561). พุทธรัฐศาสตร์สำหรับส่งเสริมความมั่นคงแห่งพลเมือง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 10 (2). 287-296.

Phramaha Pongtaratid Sutheero (Kongseang). (2021).Creation of Ethical Values in Thailand’s IsaanLiterature for Sustainable Social Development. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. 12 (3), 4098-4105.