ศึกษาการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ของชุมชน: กรณีศึกษาวัดศรีคุณเมือง ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 2) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาวัดศรีคุณเมือง ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ของชุมชน : กรณีศึกษาวัดศรีคุณเมือง ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์นำเสนอในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า:
1. การพัฒนาวัดเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน มีองค์ความรู้มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานจากคำสอนทางพระพุทธศาสนา คติจารีต ประเพณี เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ให้สมดุลและเหมาะสมกับท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาศักยภาพสังคมในด้านการท่องเที่ยว
2. สภาพการพัฒนาวัด มีจุดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรมอบรม ส่งเสริม ให้ข้อมูลกับคนในชุมชนได้มีความรู้ สืบสานประเพณีวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เป็นกลไกสำคัญในการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมผ่านการจัดการเรียนรู้ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
3. การพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เป็นการจัดการกับทรัพยากรวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำรงไว้ซึ่งรากฐานของวัฒนธรรมดั่งเดิมผสมผสานให้เข้ากับสังคมในยุคปัจจุบัน จัดทรัพยากรที่มีในแหล่งเรียนรู้ให้เป็นระบบ มีการสนับสนุนด้านงบประมาณจากทุกภาคส่วน และมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เป็นแหล่งเรียนรู้ เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชนท้องถิ่น เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดเลยต่อไป
Article Details
References
ฉลอง กัลยามิตร. (2525). บทบาทของท้องถิ่นในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์. 38(223), 46.
เฉียบ ไทยยิ่ง. (2541). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน กรณีศึกษา: ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย. กองแผนงาน: กรมการศาสนา.
นัยนา อรรจนาทร และคณะ. (2559). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนในจังหวัดเลย : กรณีศึกษาตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (ฉบับพิเศษ), 377-388.
วรกฤต เถื่อนช้าง. (2560). พระพุทธศาสนากับความท้าทายในประชาคมอาเซียน. วารสารปณิธาน. 13(2), 267-286.
สมคิด เศษวงศ์ และคณะ. (2562). วิถีวัฒนธรรมแบบเอื้ออาทรเชิงพุทธในประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศกัมพูชา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 15(ฉบับเพิ่มเติม), 89-100.
สิริมิตร สิริโสฬส. (2563) บทบาทของวัด : สถานที่ฝึกปฏิบัติหรือศูนย์กลางสาธารณะ. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 25(2), 27-36.
สุภามาศ อ่ำดวง. (2554). แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Phramaha Pongtaratid Sutheero (Kongseang). (2021).Creation of Ethical Values in Thailand’s IsaanLiterature for Sustainable Social Development, Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. 12 (3), 4098-4105.