การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบพอดีคำ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พิมลพัตร์ ศรีสุวรรณ์, กอบสุข คงมนัส

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบพอดีคำ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดสื่อสารก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านปางขนุน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบพอดีคำเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสาร แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดสื่อสาร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบหาค่าที (t-test dependent)


          ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบพอดีคำ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสาร มี 3 ขั้นตอน ดังนี้  1) Pre-task Nano learning 2) Task cycle Nano learning และ 3) Language focus Nano learning และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.26/80.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านการพูดสื่อสารหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติร่วมกับการเรียนรู้แบบพอดีคำสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษพร อยู่สวัสดิ์. (2563). แนวทางในการส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนกนันท์ เกตุดี. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บัณฑิกา จารุมา, และพยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 413-428.

วรางคณา ศรีบุญเพ็ง, พนิดา จารย์อุปการะ, และราตรี แจ่มนิยม. (2565), การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเน้นภาระงานร่วมกับแผนที่ความคิดด้วยเทคนิคการโค้ชเพื่อส่งเสริมความสามารถการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(1), 467-488

สุขมาภรณ์ แคสิค. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาการศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ Mediumology หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. ปทุมธานี: นาคร.

Ellis, R. (2003). Task-based language learning and teaching. Oxford: Oxford University Press. Emily John & Melor Md Yunus. (2021). A Systematic Review of Social Media Integration to Teach Speaking. Sustainability Journal, 13(8). 1-8.

Fahey, J. (2015). Nano-Learning: An Exciting New Tool for Professional Development. Retrieved 5 July 2023, from chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://cpafma.org/media/uploads/documents/events/Nano%20Learning%20(Final).pdf

Gyan Prakash Yadav & Jyotsna Rai. (2017). The Generation Z and their Social Media Usage: A Review and a Research Outline. Global Journal of Enterprise Information System, 9(2), 110-116

Khara, S. (2023). The Nano Learning Trend: Microscopic Education for Macroscopic Impact. Retrieved 5 July 2023, from https://www.telegraphindia.com/edugraph/career/the-nano-learning-trend-microscopic-education-for-macroscopic-impact/cid/1954601

Lakshmi Puthanveedu. (2022). Nano-Learning: How to run Bite-Sized Lessons with Big Impacts. Retrieved 5 July 2023, from https://ahaslides.com/blog/nano-learning/

Madan, N. (2011). NANO LEARNING - The Futuristic Approach to Education. International Journal of Innovative Research in Technology, 8(5). 116-120.

Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. Harlow: Longman Pearson Education.