การพัฒนาขั้นตอนการสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุน ระยะที่ 1

Main Article Content

วรปรัชญ์ ศรีดวงคำ, สุนทร คล้ายอ่ำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ         


         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาขั้นตอนการสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุนและเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาขั้นตอนการสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุนเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากประชากรที่เป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานด้านการสรรหาคัดเลือกบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จากทุกคณะ/สถาบัน/วิทยาลัย/วิทยาเขต/โรงเรียน/สำนักงาน/กอง/ศูนย์ ทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 39 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 39 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาขั้นตอนการสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับด้านที่สูงสุด ได้แก่ ด้านการบรรจุและแต่งตั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการรับสมัคร อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการสอบคัดเลือก สอบข้อเขียน สอบภาคปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีการพัฒนาขั้นตอนสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุนน้อยที่สุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลัง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ กองการเจ้าหน้าที่ควรมีการจัดทำแผนอัตรากำลังที่มีความเหมาะสมกับอัตราที่ส่วนงานพึงมีและประเมินผลเพื่อปรับปรุงการวางแผนอัตรากำลังในระยะต่อไป ควรประชาสัมพันธ์การรับสมัครอย่างทั่วถึง ควรมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะตำแหน่งเป็นผู้ออกข้อสอบทำให้เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบมีความเที่ยงตรง และควรมีกระบวนการบรรจุและแต่งตั้งมีระยะเวลาที่เหมาะสม โดยบุคลากรผู้รับผิดชอบงานด้านบริหารงานบุคคลของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยพะเยาต้องให้ความร่วมมือ และตั้งใจปฏิบัติงานตามขั้นตอน กระบวนการ กรอบเวลาที่ใช้ในการสรรหา บรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรวีณา เอื้อแท้. (2559). ศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเชิงรุกระหว่างภาคราชการกับภาคเอกชน.

วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดนิตา วิภาวิน, สุภาภรณ์พรหมฤาษี, เกรียงไกร โพธิ์มณี, รัชฎาพร บุญเรือง (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพการสรรหาพนักงาน บริษัท

บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 3(3), 315-328.

พงศ์สิทธิ์ พราหมณ์ชื่น. คู่มือการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการในกรมสรรพากร. โครงงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา. สาขาวิชา

นโยบายสาธารณะ. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

ศยามินทร์ จันทะคัต. (2564). กระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคคลของแผนกบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 1(2), 32-40.

สุชานุช พันธนียะและพฤฒ ยวนแหล. (2564). นวัตกรรมการสรรหาคนที่ “ใช่” : กระแสโลกและความท้าทายของราชการไทย. วารสาร

นวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 9(1), 22-34.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2558). การดำเนินการสรรหาเชิงรุก โครงการสรรหาเชิงรุก ศูนย์สรรหาและเลือกสรร (ศสล.)

กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ..