การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้โดยยึดผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นฐานด้วยกระบวนการของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านหนองช้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการจำเป็นในการสร้างรูปแบบการพัฒนาครู 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครู 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครู และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (R&D) 4 ระยะ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการจำเป็น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีดัชนีความต้องการจําเป็น (PNI) มากที่สุด 2) องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน แนวทางการประเมินผล เงื่อนไขการนำไปใช้ 3) คุณภาพของรูปแบบและคู่มือพัฒนาครูอยู่ในระดับมาก 4) ความรู้ความเข้าใจของครูแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 5) คุณภาพแผนการการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 6) ผลการประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 7) ผลการประเมินความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในระดับมากที่สุด 8) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 อยู่ในระดับดี ด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 อยู่ในระดับดีเยี่ยม ด้านทักษะการแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 อยู่ในระดับดีเยี่ยม และด้านทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 อยู่ในระดับดี 9) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครู อยู่ในระดับมากที่สุด 10) การประเมินรายงานวิธีปฏิบัติที่ดีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 11) ผลการประเมินเพื่อยืนยันและรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 12) ผลการประเมินการยอมรับนวัตกรรมจากผู้เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการPLC (Professional Learning
Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ช่อม่วง ม่วงทอง. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของ
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การ
จัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพงษ์ บางท่าไม้. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมตามแนวคิด TPCK Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศทางการศึกษาสำหรับนิสิตครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. (Vol. 3) กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์ จํากัด.
ประวิต เอราวรรณ์ และคณะ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน : การพัฒนาการจัดการ
เรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตใน การปองกันโรคเอดส์. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานโครงการพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2561). รูปแบบการวัดและประเมินการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่พึง
ประสงค์ของการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ 33/2565. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21
เซ็นจูรี่ จำกัด.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม
กรุงเทพมหานคร: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
วศินี รุ่งเรือง. (2562). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่ส่งเสริมศิลปะการสอนของ
ครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อดิศักดิ์ มุ่งชู. (2560). แนวทางการบริหารสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.