พุทธวิธีการใช้ภาษาการสื่อสาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธวิธีใช้ภาษาการสื่อสารในพระพุทธศาสนา พบว่า ในสมัยก่อนพุทธกาล อิทธิพลของพราหมณ์มีพลวัตต่อวิถีชีวิตของผู้คนยุคนั้นมากเครื่องมือในการสื่อความหมายและเจตนาจากมนุษย์ไปสู่เทพคือ ภาษาสันสกฤต โดยมีพราหมณ์เป็นเจ้าพิธีกรรม ต่อมาภาษานี้เอง กลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงไป ส่วนภาษาที่สื่อสาวธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นภาษามคธซึ้งเป็นแก้นภาษาท้องถิ่นอันเป็นภาษาที่ไม่มีอักษร ไม่ตายตัว เป็นภาษาเฉพาะถิ่นนั้นๆ ตามหลักฐานแล้วยังยืนยันว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอนประชาชน ครั้นต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรีลังกา ภาษามาคธี หรือภาษามคธได้ถูกนักปราชญ์แก้ไขดัตแปลงรูปแบบไวยากรณ์ให้กะทัดรัดยิ่งขึ้น จึงมีชื่อใหม่ว่า “ปาลี” หรือภาษาบาลี เป็นภาษาจารึกพระไตรปิฏกดังที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
พุทธวิธีการแก้ปัญหาใช้ภาษาเพื่อการเผยแผ่ธรรมะในยุคปัจจุบัน พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหามาจากอดีตตั้งแต่พุทธกาลมาถึงปัจจุบันนั่นคือ ภาษาที่พระพุทธศาสนาใช้เป็นภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ้งเป็นภาษาที่ถูกใช้ในสมัยก่อนพุทธกาล พอมาถึงปัจจุบันเกิดปัญหาที่จะต้องตีความตามบริบททางสังคมก่อนและปรับความหมายให้สอดคล้องกับความเข้าใจของสังคมในปัจจุบัน เมื่อผู้คนไม่มีความรู้เรื่องภาษาพอจึงมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไม่รู้ความหมายดั้งเดิมและความไม่รู้ความหมายใหม่ในปัจจุบัน
Article Details
References
กรุณา กุศลาสัย. (2544). อินเดียทวีปที่น่าทึ่ง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.
กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดือน คำดี. (2545). ศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พุทธทาสภิกขุ. (2537). ภาษาคน ภาษาธรรม เรามา “กิน” เวลากันเถิด. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2547). จาริกบุญ จารึกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.
______. (2556). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 8. พิมพ์สวย จำกัด.
ปรมะ สตะเวทิน. (2537). การสื่อสารมวลชน กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2535). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญกิจ.
เสถียร โพธินันทะ. (2513). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: บรรณาคาร.
แสง จันทร์งาม. (2540). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สนิท ศรีสำแดง. (2534). พระพุทธศาสนากับหลักการศึกษา ภาคทฤษฎี ความรู้. กรุงเทพมหานคร: นีลนาราการ
พิมพ์.
สมฤดี วิศทเวทย์. (2546). ภาษากับความจริงในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารพุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 10(1), 6-108.