สิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

วงศ์ชนก จำเริญสาร
พระอภิเดช อภิวฑฺฒโน/ติวเรือง

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา พบว่า แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนสากล ได้ก่อกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเน้นเรื่องสิทธิโดยธรรมชาติความคิดเรื่องกฎแห่งธรรมชาติและได้พัฒนาเรื่อยมาในประเทศทั่วโลก จนถึงร่วมลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ จัดทำเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม คริสต์ศักราช 1948 (พ.ศ. 2491) มีบัญญัติไว้ 30 ข้อ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชน  เรื่องสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, เรื่องเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม, และเรื่องหน้าที่ของบุคคล สังคม และรัฐ


         แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษย์ในพระพุทธาสนา  มีความสอดคล้องกับแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากล โดยคำสอนในพระไตรปิฎก แม้จะไม่ได้ใช้คำว่าสิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่มีเนื้อหาที่มีนัยของการสอนให้เคารพสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ทิศ 6  ล้วนมีการส่งเสริมให้ปฏิเสธความชั่ว สนับสนุนให้กระทำความดีต่อกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทจึงอยู่ในฐานะสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาชีวิตมวลมนุษย์ให้เข้าถึงสันติสุขทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวมตลอดไป และจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กุลพล พลวัน. (2547). สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก.กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

ชะวัชชัย ภาติณธุ. (2548). กระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้น ติ้ง เฮ้าส์.

พิทูร มลิวัลย์. (2525). หลักธรรมสำหรับการปกครอง. กรุงเทพมหานคร. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) . (มปป.). ทาน ศีล ภาวนา. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับอารยธรรม หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำเนียง ยอดคีรี. (2544). จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมชาย กษิติประดิษฐ์. (2546). สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสน่ห์ จามริก. (2545). พุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.