การจัดประเภทพระธรรมวินัยในนวโกวาท : ศึกษาในเชิงพัฒนาการ

Main Article Content

พระครูวาปีจันทคุณ (อัศเจรีย์ พันธ์แก้ว)

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของนวโกวาท 2) วิเคราะห์การจัดประเภทหลักธรรมวินัยในนวโกวาทเชิงพัฒนาการ ขอบเขตด้านเอกสาร/คัมภีร์ ได้แก่ นวโกวาท พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ พระธรรมวินัยในนวโกวาท วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอโดยวิธีพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า


         วิธีการจัดประเภทวินัย สรุปได้ดังนี้คือ (1) การย่อสิกขาบทในภิกขุวิภังค์ให้เข้าใจง่ายขึ้น (2) บางสิกขาบททรงนำคำอธิบายในสิกขาบทวิภังค์มาแสดงไว้ด้วย เพื่อความเข้าใจถูกต้อง (3)การแปลคำบาลีที่สื่อให้ทราบสิ่งของในปัจจุบัน (4) การจัดหมวดหมู่เสขิยวัตรใหม่ ผลของการจัดประเภทวินัยคือ (1) ทำให้เข้าใจพระวินัยได้ง่ายขึ้น (2) เป็นคู่มือพระวินัย ฉบับย่อ จุดมุ่งหมายของการจัดประเภทธรรมวิภาค โดยภาพรวมเป็นการจัดเพื่อให้คนทั้งหลายได้ศึกษาและนำหลักธรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันไปปฏิบัติตาม ผลของการจัดประเภทธรรมวิภาค มีดังนี้คือ (1) เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อคำสอนทางพระพุทธศาสนาใหม่ (2) เป็นคู่มือการเผยแผ่ธรรมของพระสงฆ์ จุดมุ่งหมายในการจัดประเภทคิหิปฏิบัติคือเพื่อให้ฆราวาสหรือชาวบ้านได้ศึกษาหลักธรรมที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของตนและนำไปปฏิบัติตามเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้น ผลของการจัดประเภทคิหิปฏิบัติคือ (1) ทำให้ได้รับความสะดวกในการค้นคว้าหลักธรรม (2) เป็นคู่มือการศึกษาธรรมะของอุบาสก-อุบาสิกา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพุทธโฆสาจารย์ รจนา, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตรวจชำระ. (2543). ธมฺมปทฏฺฐกถา ปฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับ มหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาณพ พลไพรินทร์ อ้างใน พระมหาทองเติม อาจารสุโภ. (2554). ทัศนคติของสามเณรผู้เรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักศาสนศึกษาวัดบูรพาภิราม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีต่อการศึกษาบาลี.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2550). นวโกวาท, พิมพ์ครั้งที่ 80. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ บุญปู่. (2552). พระสงฆ์กับการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.