มนต์เสียงแห่งอิตถีเพศในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามนต์เสียงแห่งอิตถีเพศในพระพุทธศาสนา พบว่า เสียงในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธรรมชาติที่เปล่งออกไป คือ การเปล่งเสียงของบุคคล ออกมาเป็นคำพูดหรือภาษาพูดเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เสียงแบ่งออกเป็น 2 นัย คือ นัยแรก แบ่งประเภทตามที่เกิดของเสียง ได้แก่ เสียงทิพย์, เสียงมนุษย์,เสียงสัตว์ และเสียงวัตถุ นัยที่สอง แบ่งตามคุณลักษณะของเสียง ได้แก่เสียงที่ควรเสพ และเสียงที่ไม่ควรเสพ เสียงที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นมีทั้งพระสุรเสียงของพระพุทธเจ้า เสียงของพระพรหม เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งเสียงนั้นมีประโยชน์ในการใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ใช้ในการปฏิบัติธรรม ใช้เพื่อการสื่อสาร ใช้ในวิทยาการสมัยใหม่
มนต์เสียงแห่งอิตถีเพศ หรือเสียงแห่งสตรีนั้น เป็นเสียงแห่งมหาอำนาจในการจับจิตจับใจของผู้ฟังไม่ว่าจะเป็นเพศของหญิงเองหรือเพศตรงกันข้าม สตรีเป็นเพศสภาพที่มีลักษณะอ่อนโยน เรียบร้อย มีน้ำใจไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นผู้มีวาจาไพเราะอ่อนหวาน พูดให้คนเชื่อ พูดให้คนชอบ พูดให้คนช่วย ด้วยเหตุนี้เสียงแห่งสตรีจึงเป็นเสียงที่ให้ทั้งโทษและคุณ ในส่วนที่เป็นโทษก็คือ เป็นมลทินของพรหมจรรย์ ในการประพฤติปฏิบัติธรรมของสมณเพศ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้แนวทางในการปฏิบัติต่อมาตุคามไว้อย่างชัดเจน ส่วนคุณของมนต์เสียงแห่งสตรีนั้น ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังไม่ว่าในการเตือนใจ สอนใจ และนำใจ เพื่อความผาสุกในการดำเนินชีวิต
Article Details
References
เดือน คำดี. (2544). ภิกษุณีในพระพุทธศาสนา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชา ศิวเวทกุล. (2549). คู่มือวิทยาศาสตร์คำนวณ ม.ต้น (ม.1-ม.2-ม.3). กรุงเทพมหานคร: เดอะบุคส์.
เปรม หิมจันทร์. (2521). บทบาทของสตรีอินเดียในวรรณคดีบาลี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). ธรรมนูญชีวิตฉบับสองพากย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม). (2544). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระมหากมล ถาวโร (มั่งคํามี). (2543). สถานภาพสตรีในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2558). อภิธานวรรณนา. อุดรธานี: ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานวิหารธรรม.
พิทยา บุษรารัตน์ และ ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2548). สุภาษิตสอนหญิงคำกาพย์ ในวรรณกรรมทักษิณ: วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 12. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2506). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). อรรถกถาพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โยธิน ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์. (2555). ระบบเสียงเรื่องต้องรู้. กรุงเทพมหานคร: วีล สแควร์.
รัตติกรณ์ รัตนบุรี. (2554). สถานภาพและบทบาทสตรีไทยในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์ จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ, กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
สมภาร พรมทา. (2538). สตรีในทัศนะของพุทธศาสนา. บทความใน ร่มโพธิ์แก้ว. นนทบุรี: การพิมพ์.