ศึกษาวิเคราะห์โลกและชีวิตในพราหมณวรรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคำสอนเรื่องโลกและชีวิตในพราหมณวรรค และ 2) เพื่อวิเคราะห์คำสอนเรื่องโลกและชีวิตในพราหมณวรรค เป็นการิจัยเอกสาร/คัมภีร์ รวบรวมข้อมูลจากพราหมณวรรค เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีอุปนัย เรียบเรียงและนำเสนอโดยวิธีพรรณนาความ
ผลการศึกษา พบว่า โลกที่ปรากฏในอัสสลายนสูตรไม่ใช่ลักษณะหรือสภาพของทุคติภูมิและสุคติภูมิ แต่เป็นลักษณะของการกระทำดีและชั่วว่าจะให้ผลอย่างไร ส่วนธนัญชานิสูตรกล่าวถึงการลงโทษสัตว์นรกของนายนิรยบาล การกล่าวถึงสุคติและทุคติภูมิเป็นการกล่าวถึงผลที่ได้จากการกระทำ ซึ่งทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันโดยความเป็นเหตุและผล กล่าวคือ การกล่าวถึงอบาย นรก วินิบาต ทุคติ เพื่อให้คนทั้งหลายกลัวผลของกรรมชั่ว จะได้ไม่กล้าทำชั่ว การกล่าวถึงสุคติโลกสวรรค์ เพื่อให้คนทั้งหลายมีแรงจูงใจในการทำความดี จะได้ขวนขวายในกรรมดี เพราะต้องการไปเกิดในภูมิที่ดี ซึ่งจะได้รับผลคือความสุข
ศาสนาพราหมณ์สอนว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันมาแต่ชาติกำเนิด ดังนั้นจึงทำให้ไม่มีความเท่าเทียมกันทางการกระทำ แต่พระพุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์ไม่ได้ดีหรือเลวเพราะชาติกำเนิด อาจมีความแตกต่างกันบ้างตรงที่เกิดในตระกูลสูงหรือต่ำ แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคของการกระทำ จะเกิดในตระกูลสูงหรือต่ำก็ตาม หากทำดีก็ได้รับผลดีเหมือนกันหมด แต่หากทำความชั่ว ก็ย่อมจะได้รับผลชั่วเสมอเหมือนกัน
Article Details
References
พระไพฑูรย์ ถิรสทฺโธ (ค่ำคูณ). (2561). ศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาท.หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาสมพงษ์ สุขุมาโล (สิงห์สุพรรณ). (2538). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องสังสารวัฎในพุทธศาสนาเถรวาท. หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระอธิการก้าน ฐิตกุสโล (พุ่มสละ). (2556). การศึกษาวิเคราะห์ระบบวรรณะ 4 ตามทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัดญาณเวศวัน. (2564). พุทธศาสนากับสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 13 ตุลาคม 2563 จาก https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/316/7.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปล. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มปพ.