ศึกษาวิเคราะห์ปัจฉิมโอวาทในมหาปรินิพพานสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมเรื่องความเสื่อมและความไม่ประมาทที่ปรากฏในปัจฉิมโอวาทในมหาปรินิพพานสูตร 2) วิเคราะห์หลักธรรมเรื่องความเสื่อมและความไม่ประมาทที่ปรากฏในปัจฉิมโอวาทในมหาปรินิพพานสูตร รวบรวมข้อมูลจากมหาปรินิพพานสูตร วิเคราะห์และนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษา พบว่า ความเสื่อมของสังขาร 3 ประการ คือ 1) เสื่อมเพราะเป็นสภาพตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วมีความแตกสลายเป็นที่สุด 2) เสื่อมเพราะความไม่มีตัวตน แต่มนุษย์หลงยึดมั่นโดยความเป็นตัวตน จึงทำให้ประสบกับความทุกข์ 3) เสื่อมเพราะถูกปัจจัยปรุงแต่ง หรือมีสิ่งอื่นเป็นปัจจัยและเป็นปัจจัยของสิ่งอื่น
การพิจารณาความเสื่อมของสังขารและความไม่ประมาทในการทำหน้าที่ ทำให้มีผลหรือได้รับประโยชน์ 4 ประการ ได้แก่ 1) รู้เท่าทันความจริงของสังขาร 2) เป็นการเตือนตนไม่ให้ประมาท 3) ไม่ทุกข์ใจเพราะสังขารทั้งหลาย 4) ได้ประสบความสุขในชีวิต ส่วนความไม่ประมาท 6 อย่าง ได้แก่ 1) ความไม่ประมาทในกาลเวลา 2) ความไม่ประมาทในวัย 3) ความไม่ประมาทในชีวิต 4) ความไม่ประมาทในการงาน 5) ความไม่ประมาทในการศึกษา 6) ความไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม
Article Details
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภิรมย์ เจริญผล. (2553). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับ มหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.