การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในจังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

พระสมุห์เจนวิทย์ ธมฺมรํสี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดบังกาฬ จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ    ทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปตามหลักอปริหานิยธรรม ด้านปฏิบัติตามข้อบังคับ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม ด้านปฏิบัติตามข้อบังคับ ด้านให้ความเคารพต่อผู้นำ ด้านให้เกียรติคุ้มครองสตรี ด้านรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม และด้านคุ้มครอง สนับสนุนคนดี


ผลการทดสอบสมมติฐานการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่ในการเลือกตั้งทั่วไป โดยภาพรวมแตกต่างกัน ประชาชนที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน ความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิภา ทัตตานนท์. (2564). ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8(3), 136-150.

บุญทัน ดอกไธสง. (2552). ประชาธิปไตยรากหญ้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

พระมหาเรวัฒน์ อคฺคทาโร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหวิทยาการวัตกรรมปริทรรศน์. 3(1), 34-43.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร”. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รัฐสภา. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. (2565). เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2565 จาก https://web.parliament.go.th/assets/portals/1/files/002.

วิกิพีเดีย. (2565). จังหวัดบึงกาฬ. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2565 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดบึงกาฬ.

สำนักงานคณะกรรมการเขตเลือกตั้ง. (2554). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554. เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2565 จาก https://www.ect.go.th/ect_th/ewt_dl_link.php?nid=8447.

สำนักงานจังหวัด กลุ่มงานอำนวยการ. (2564). ฐานข้อมูลประชากรจังหวัดบึงกาฬ. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2565 จาก https://www2.buengkan.buengkan.go.th.

สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ. (2561). ฐานข้อมูลจังหวัดบึงกาฬ. เรียกใช้เมื่อ 21 เมษายน 2565 จาก https://www2.buengkan.go.th/files/com_news_struct/2021-05_d74df2ea9f71cd0.pdf.

สุกฤตา จอนดาพรม และโชติมา แก้วกรอง. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยในพื้นที่องค์ ปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. วารสารการเมืองการปกครอง การจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน. 3 (2), 118-133.

สุทน ทองเล็ก. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 22(1), 155-164.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ. (2565). เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2565 จาก https://buengkanpao.go.th.

อรนุช โจมจตุรงค์. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารียา ศรีคําภา. (2548). อุปสรรคในการแก่ปัญหาการซื้อเสียงของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row