ภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระดับภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่พระสังฆาธิการในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 366 รูป กำหนดการสุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า ระดับภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการปกครองคณะสงฆ์ ด้านศาสนศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านสาธารณูปการ และสาธารณสงเคราะห์
ผลการทดสอบสมมติฐานต่อภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุ และด้านวุฒิทางการศึกษาสายสามัญ มีผลทำให้ความคิดเห็นของต่อภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านพรรษา วุฒิการศึกษาทางธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม มีผลทำให้ความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ชาญณรงค์ หินเกิด. (2556). บทบาทของพระสังฆาธิการกับการพัฒนาวัดในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระเกษมศักดิ์ วรสุกฺโข (อาสนะทอง). (2555). บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์อำเภอชุมแสงจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชิทยาลัย.
พระครูพิศาลถิรธรรม. (2556). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษพศวีร์ ธีรปญฺโญ. (2550). บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์: ศึกษากรณี พระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสิทธิวชิรโสภิต (ประสิทธิ์ สมฺมาปญฺโญ). (2562). ภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระธรรมภาณพิลาส (อดุลย์ อมโร). วารสารวิจยวิชาการ. 2(1), 25-38.
พระณัฐพล ฐิติธมฺโม(ปราบพินาศ). (2556). การบริหารวัดโดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 ตามความคิดเห็นของพระสงฆ์ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธนดล นาคพิพัฒน์. (2556). การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธวัชชัย จารุธมฺโม(ศรีสุข). (2554). ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์: กรณีศึกษาวัดในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพิพัฒน โสภโณ (ฮกยินดี) (2554) . บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆในอําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาปริวัฒน ฐิตวิริโย (2552). ความคิดเห็นของพระภิกษุที่มีต่อการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาวัดในเขตอําเภอบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภรศิษฐ์ ใจเสือ. (2556). สภาพการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการกลุ่มเขตรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2561). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สุรพงษ์ จันลิ้ม. (2547). ศึกษาวิเคราะห์คุณธรรมจากชาดก ตามที่ปรากฏในสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา การศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2544. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row.