ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเชียงยืน จำนวน 368 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.06 S.D. = 0.62) ได้แก่ การให้บริการอย่างเสมอภาค การให้บริการอย่างทันเวลา การให้บริการอย่างพอเพียง การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.21 S.D. = 0.46) ได้แก่ ทาน (การเอื้อเฟื้อแบ่งปันการให้บริการ) ปิยวาจา (การให้บริการด้วยการพูดจาไพเราะ) อัตถจริยา (การให้บริการที่เป็นประโยชน์) และสมานัตตตา (การให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ)
ผลการทดสอบสมมติฐานความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะโดยภาพรวมแตกต่างกัน ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพต่างกัน การมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน การมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
เทศบาลตำบลเชียงยืน. (2565). ฐานข้อมูลประชากรเทศบาลตำบลเชียงยืน เขตอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหา สารคาม. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2565 จาก https://www.chiangyuencity.go.th/images/2022/datag-65.pdf.
ประสาน เจริญศรี. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระประทวน จนฺทสาโร (ศรีโยธี). (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(2), 143-155.
ภานรินทร์ ไชยเอิก. (2561). ความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัฒนา ภังคสังข์. (2554). ความพึงพอใจของประชนชนต่อการให้บริการสาธารณะตามหลักสาราณีธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศรินทิพย์ อรุณสวัสดิ์ฤกษ์. (2564). ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 11(4), 732-745.
สฤณี อาชวานันทกุล. (2560). สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 54(3), 16-22.
สังขพงศ์ ชมพู. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรม ในการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2554). ความพึงพอใจของประชนชนต่อการให้บริการสาธารณะตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Millet. (1997). Management in the Public Service. The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.