ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร 2) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 339 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach (1990) โดยแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แสดงว่า แบบสอบถามมีความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ การกำหนดทิศทางขององค์การ รองลงมาคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การ และด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 2. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r=0.80) และมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r=0.82) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
จารุวรรณ เทียนส่งรัศมี และวิชิต แสงสว่าง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. HRD Journal, 12(2), 23-40.
ไชยา ภาวะบุตร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.
ณรงค์ รัตนโสภา, พจนีย์ มั่งคั่ง และสายฝน เสกขุนทด. (2564) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 19(84), 102-114.
เบญจวรรณ เสวีวัลลภ. (2560). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.
พิษณุ สมจิตร. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 14(3), 3-12.
มนสิชา ธรรมรักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: ครูอินเตอร์.
สมคิด นาคขวัญ. (2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายและจุดเน้น ปี 2564. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุรนาท มีศิลป์. (2561). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารอนาคตวิทยาทางการศึกษา. 5(2), 109-110.
Dubrin, A.J. (2004). Leadership: Research Findings, Practice, and Skills (4thed.). New York: McGraw-Hill.
Gill, R. (2006). Theory and practice of leadership. Washington: Sage.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. New York: R. S. Woodworth.
Tetik, S. (2020), "Strategic Leadership in Perspective of Industry 4.0", Akkaya, B. (Ed.) Agile Business Leadership Methods for Industry 4.0, Emerald Publishing Limited, Leeds, pp. 193-207.