การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36

Main Article Content

สรัลรัชต์ ดอนมูล
สุนทร คล้ายอ่ำ

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษา
อำเภอปง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ สูงสุดได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต่ำสุดคือด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) การศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง พบว่า ด้านการบริหารจัดการศึกษาสถานศึกษา ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระ รวมทั้งบูรณาการกับหลักสูตรท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านโครงการ โครงงาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการเสริมสร้างครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเป็นวิทยากรด้านการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านผลสัมฤทธิ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีการพัฒนาสถานศึกษาให้ได้รับการยอมรับเป็นแบบอย่าง หรือเป็นต้นแบบในการบูรณาการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท. (2559). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในภาคการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท..

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ธงชัย ดีมูลพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา ในสหวิทยศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พินิจ เครือเหลา. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชญาดา สิงหเลิศ. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (19 สิงหาคม 2542).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.

มัลลิกา สีดาเดช. (2563). ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุนทร จงเพียร. (2556). การบริหารสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อรอนงค์ ดุมนิล. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความ คิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์.