การพัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 และ2) ตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตคณะครุศาสตร์ในส่วนงานจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 345 รูป/คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยการวิจัยและพัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มี 5 องค์ประกอบ จำนวน 59 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 12 ข้อ 2) ด้านการเรียนรู้ของครู จำนวน 15 ข้อ 3) ด้านบรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ จำนวน 9 ข้อ 4) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 ข้อ แล 5) ด้านการประเมินและการสะท้อนผลการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของนิยามเชิงปฏิบัติการตามองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ
2. ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 พบว่า ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Discrimination) ระหว่าง 0.38 - 0.82 ซึ่งมีค่าทางบวกทุกข้อมีอำนาจจำแนกตามเกณฑ์ ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ข้อคำถามทุกข้อมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเที่ยง (Reliability) มีค่า 0.92, 0.90, 0.87, 0.89 และ0.84 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับความเที่ยงสูงทุกองค์ประกอบ
Article Details
References
กมล โพธิเย็น. (2559). การจัดการเรียนรู้เพื่อนำความสุขสู่ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 13 (2), 121-131.
กรองทิพย์ นาควิเชตรและคณะ. (2564). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 27 (1), 48-62.
กฤษดา ผ่องพิทยา. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารราชพฤกษ์. 13 (1), 11-18.
กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2541). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 20(59), 27-41.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2538). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิศากร เจริญดี. (2561). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปกรณ์ ประจัญบาน และลภัสรดา จูเมฆา. (2561). การพัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรูอยางมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (4), 118-128.