แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ โรงเรียนธรรมจักรวิทยา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสตูล

Main Article Content

พระมหายุทธพงศ์ กิตฺติวฑฺฒโก (อยู่หนู)

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศของผู้เรียน 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ โรงเรียนธรรมจักรวิทยา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสตูล ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 20 รูป/คน การศึกษาแนวทาง จำนวน 10 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และเสนอแนวทาง จำนวน 7 รูป/คน โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)


         ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศของผู้เรียน โรงเรียนธรรมจักรวิทยา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสตูล ประกอบด้วย 1.1) เป็นศาสนทายาทที่ดีของพระพุทธศาสนาและพลเมืองที่ดีของสังคม 1.2) มีความรู้และทักษะในวิชาการทางพระพุทธศาสนา 1.3) มีนิสัยใฝ่หาความรู้ ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและวินัยสงฆ์ 1.4) มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ 1.5 รู้จักบำรุงรักษา ศาสนสมบัติ อนุรักษ์ และเสริมสร้างสภาพแวดล้อม 1.6) มีความภูมิใจความเป็นสมณะ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และ 1.7) มีความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมสนับสนุนแนวทางปฏิบัติให้เกิดความเจริญแก่ชุมชน สังคม 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ มีขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย 2.1) การวิเคราะห์ปัญหา 2.2) การวางแผนการพัฒนา 2.3) การจัดกิจกรรมการพัฒนา 2.4) การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 2.5) การสรุปผลการพัฒนาการจัดทำรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2548). คู่มือการปฏิบัติงานการขออนุญาตจัดตั้งและขยายชั้นเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

บัญชายุทธ นาคมุจลินท์, (2557). แนวทางการพัฒนาศาสนทายาทที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. 3(1), 140.

_________. (2556). รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดวิชาญ วิชฺชาธโร. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนทายาทของคณะสงฆ์จังหวัดนนทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุตชยาภรณ์ (เขียวสุข). (2560). รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_________. (2560). รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทตามแนวพระพุทธศาสนา”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอาทรยติกิจ (ชื้น ปุญฺญากาโม). (2563). รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทของคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระทอง ฐิตปญฺโ (บุตรดี). (2560) ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2) ฉบับพิเศษ, 446.

พระมหาพงศกร สิมพา. (2565). กระบวนการพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 9(2), 421.

โรงเรียนธรรมจักรวิทยา. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2564. สตูล: โรงเรียนธรรมจักรวิทยา.

สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 2. (2565). ประวัติกลุ่มโรงเรียนและคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน ปส.2. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. จากhttps://www.debsecond.org/สำนักเขตการศึกษา_สศปสเขต_2.html

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.