โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบความเหมะสมของโปรแกรมพัฒนาครู และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ การวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู กลุ่มตัวอย่าง 306 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสม ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) โปรแกรมพัฒนาครู 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) แบบประเมินความเหมาะสม ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 17 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนาความคิดรวบยอด การออกแบบและนำเสนอความรู้ และ การตรวจสอบและอภิปราย ตามลำดับ 2) โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 3) โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เกศสุดา ใจคำ. (2552). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน : Brain-based Learning. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 3(1), 62-70.
ขัณธ์ชัย อธิเกียรติและธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (2563). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563.
จาก http://regis.skru.ac.th/RegisWeb/data filedownload/25590714-15.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.
พรสวรรค์ จันทร์เติม. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบActive Learning. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2559). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) กับ การสร้าง “เด็กเก่ง”. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2563 จาก http://www.condocommu. com.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2550). แนวการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัย เทคโนโลยีภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. (2566). การบริหารจัดการศึกษาขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น. ขอนแก่น: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
อรุโณทัย ระหา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ (2559). การพัฒนา Core Competency บนแนวคิด 70:20:10. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Caine, Renate Nummela and Geoffrey Caine. (1994). Making connections: Teaching and the human brain. Menlo Park, CA: Innovative Learning Publications
Carter, A., Martínez-Pedraza, F., & Gray, S. (2009). Stability and individual change in depressive symptoms among mothers raising young children with ASD: maternal and child correlates. Journal of Clinical Psychology.113 65(12), 1270–1280.
Caine, R.N., Caine, G. (1990). Understanding a brain based approach to leaning and teaching. Educational Leadership. 48(2) 66-70.
Michel; Norbert; Carter. J. J.; & Otmar. (2009). Active Versus Passive Teaching Styles: An Empirical Study of Student Learning Outcomes. Human Resource Development Quarterly. 20(4), 346-353.
O'Driscoll, Tony. (2015). Getting Training in Gear. Training, 52(1), 138 -150.