กลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด

Main Article Content

บุญช่วย กิตติวิชญกุล

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การวิจัย มีค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องรวมทั้งฉบับเป็น 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบอัลฟ่า กลุ่มตัวอย่าง 390 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน ใช้การเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยโปรแกรมการคำนวณค่าสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า : 1)ระดับกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (X3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (X5) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหาร (X4) ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .557 .369 และ .275 ตามลำดับ และ 3) พนักงานเห็นด้วยและมีความพึงพอใจในนโยบายที่จะทำให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและเป็นธรรม เป็นต้น ส่วนกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ที่จะต้องให้ความสำคัญและนำมากำหนดเป็นนโยบายนำมาปฏิบัติโดยเร็วเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

บุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2566). การใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี. 4(2), 15-24.

พิศโสภา ทีฆาวงค์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พนิดา อร่ามจรัส. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานในกลุ่มบริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิรัญญา นิลพันธ์. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุบลพรรณ แก่นจักร์. (2560). ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร ธุรกิจเอเยนซี่ ออนไลน์ มาร์เกตติ้ง แห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Guskey, T. R., & Sparks, D. (1996). Exploring the Relationship between Staff Development and Improvements in Student Learning. Journal of Staff Development. 17, 34-38.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.