ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กรณีศึกษา โรงเรียนรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงานของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทานในจังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 93 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านผู้บริหาร รองลงมาคือ ด้านครูผู้สอนและด้านชุมชนและผู้ปกครอง ตามลำดับ 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ซึ่งวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และโปรแกรม AMOS มีความสัมพันธ์ทางบวก (R2= .900) อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยพบว่า ปัจจัยด้านครูผู้สอนส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการมากที่สุด (ß=.322) รองลงมาปัจจัยด้านชุมชนและผู้ปกครอง (ß=.289) และปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ß=.190) ตามลำดับ
Article Details
References
กัลชิญา ทองหัตถา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
แกร่งกล้า สุวรรละโพลง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสงขลา. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา 2561-2565 ฉบับทบทวน พ.ศ.2565.
นิเลาะ แวะอุเซ็ง และคณะ. (2550). การจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยาลัยอิสลามศึกษา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพ.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สันวิช แก้วมี. (2561). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา. (2565). ข้อมูลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแยกตามขนาดของโรงเรียน จำนวนครู และจำนวนนักเรียน. สงขลา: สำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อิลฮาม อาเก็ม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
Best, J.W. & Khan, J.V. (1998). Research in education. 8th ed. Boston: Allyn & Bacon.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 608-609.