การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

Main Article Content

จุฑาพร สันจิตร
ศัจนันท์ แก้ววงค์ศรี

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล2)เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3 )รวบรวมข้อเสนอแนะของครูผู้สอนทีมีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00  ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.954  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบหาค่าที (t-test) และการทดสอบหาค่าเอฟ(F-test)  


         ผลการวิจัยพบว่า


         1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่าครูผู้สอนที่มี เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานด้านวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอ ละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า ผู้บริหารควรเน้นการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับยุคสมัย จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ครอบคลุมต่อนักเรียน ตลอดจนการใช้สื่อที่น่าสนใจและหลากหลาย เน้นการปฏิบัติจริง และจัดให้มีการนิเทศอย่างสม่ำเสมอเพื่อเข้าถึงปัญหาอย่างชัดเจน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิมล เดชะ. (2559). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาสตูล. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย กรุงเทพมหานคร: สุริวิยาสาส์น.

ปรียาภรณ์ ตั้งคุณานันท์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาดา ทิพย์กองลาศ.(2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2564-2565. สตูล: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล กระทรวงศึกษาธิการ.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2557). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: เอสดีเพลส.

เอี่ยมจิรา เดชกัลยา. (2559). การปฏิบัติงานวิชาการของครูโรงเรียนในกลุ่มค่ายพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.