โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

เหมือนฟ้า คำแหงพล
สุรินทร์ ภูสิงห์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรม 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความประโยชน์ของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 297 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNIModified


          ผลการวิจัยพบว่า


           1. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น พบว่า ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการค้นคว้าและคิด ด้านการนำเสนอ และด้านการตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ตามลำดับ


         2. โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มี 5 องค์ประกอบด้วย ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย Module 1 การกระตุ้นความสนใจ Module 2 การตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ Module 3 การค้นคว้าและคิด Module 4 การนำเสนอ และ Module 5 การประเมินผล 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การประเมินผล ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


         3. โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


       

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2546). ปรัชญาการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูไนเต็ด โปรดักชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่10, กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปกรณ์ทรรศน์ ศรีโยวัย, บุญชม ศรีสะอาด. (2564) เรื่องที่ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). เรื่องที่ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ลำยวน ไวทำ. (2562). เรื่องที่ศึกษาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2551). การประยุกต์ใช้ Log Frame เพื่อออกแบบโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา สู่กรอบแนวคิดเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 3-18.

ไวกุณฐ์ เหมือนทอง (2564). เรื่องที่ศึกษาโปรแกรมพัฒนาสมมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลสวี (บ้านนาโพธิ์) อำเภอสวี จังหวัดชุมพร: โรงเรียนอนุบาลสวี.

ศราวุฒิ สนใจ. (2562) เรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สรัลพร ถนัดรอบ และ ธรินธร นามวรรณ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 8(1), 25-38.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: บริษัทประชุมช่าง จํากัด.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2566). รายงานการประเมินตนเองประจำปี 2566. ขอนแก่น: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาด้านการเรียน การสอนทักษะการคิด วิเคราะห์และทักษะในศตวรรษที่ 21 “การสอนแบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน (Creativity Based Learning : CBL)”. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุบล หนูฤกษ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐานโรงเรียนในเครือข่าย เกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(1), 328-341.

อารี พันธ์มณี. (2546). คิดอย่างสร้างสรรค์.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ใยไหม.

อุ่นตา นพคุณ. (2546). โปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.