สภาพและแนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 2) เปรียบเทียบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 รวมทั้งสิ้น จำนวน 287 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 จำนวน จำนวน 8 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test และการทดสอบ f – test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกันกัน และผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ 3) แนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 จำนวน 8 ด้าน รวม 26 แนวทาง
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). คลื่นลูกที่ 5 ปราชญสังคม : สังคมไทยที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
ณัฐวุฒิ ปั้นเหน่งเพชา. (2558). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจระดับบุคคลของครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ตรียพล โฉมไสว และคณะ. (2563). การเสริมพลังอำนาจของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(1), 126.
ไทยพีบีเอส. ไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ แทนครูได้. (2562). เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thai pbs.or.th/news/content/285242.
นพคุณ ครุฑหลวง. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปฐมาภรณ์ สานุกูล. (2564). การเสริมพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ปารวี วินทะไชย์. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(4), 68-79.
ปรายทิพย์ ถึงสุขและกล้า ทองขาว. (2560). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 6(2), 183-199.
พระมหาตุ๋ย ขันติธมฺโม และพระสมุห์พุฒิพงษ์ พุทฺธิวํโส. (2564). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สร้างคน. วารสารภาวนาสารปริทัศน์. 1(3), 16.
พิชญา แสงทองทิพย์ และยุวธิดา ชาปัญญา. (2565). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2), 53-65.
วิรันทร์ดา เสือจอย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุดารัตน์ วัฒนพฤกษา. (2552) การศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2560-2570. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อภิชาต ทองน้อย และคณะ. (2555). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 6(3), 143-155.
อภิสิทธิ์ พึ่งภพ และคณะ. (2564). การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(1), 65-79.
Tracy. (1990). Diane. 10 step to empowerment: A common – Sense Guide to Managing People. NewYork: William Morrow.
Taro, Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. NewYork: Harper and RowPublications.