กลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ประชากร คือคณะกรรมการป่าชุมชุมชนบ้านหนองตาใกล้ จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน สุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและวิเคราะห์ SWOT
ผลการวิจัยพบว่า:
1. สภาพแวดล้อมการจัดการป่าชุมชนโดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก จุดแข็งคือมีความเป็นชุมชนและวัฒนธรรมดั้งเดิม เป็นต้น จุดอ่อนคือคนในชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจการจัดการป่าชุมชน เป็นต้น โอกาสคือได้รับความสนใจและสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย เป็นต้น อุปสรรคคือขาดการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน เป็นต้น
2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการป่าชุมชนเพื่อกำหนดเป็นแนวทางการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนคิดเป็นร้อยละ 100 สัดส่วนที่เห็นด้วยมากที่สุดแนวทางที่ 1 การส่งเสริมให้ชุมชนสำนึกการมีส่วนร่วมจัดการป่าชุมชน แนวทางที่ 2 ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายให้แก่สมาชิกทุกคน แนวทางที่ 3 สนับสนุนให้แต่ละชุมชนมีการฟื้นฟูจัดการอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนให้เป็นแหล่งอาหาร ที่พักพิงใช้สอยของคนในชุมชน
3. กลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน 1) ส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 2) พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของคณะกรรมการป่าชุมชนและประชาชนในพื้นที่ในการบริหารจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการป่าชุมชนชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 4) พัฒนาระบบการสื่อสารให้เหมาะสมกับการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 5) ขยายภาคีเครือข่ายให้มากขึ้น เป็นต้น
Article Details
References
วิลาวัลย์ ใจเอื้อ และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนพื้นที่จังหวัดพะเยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 10(1), 117-134.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมป่าไม้. (2561). ป่าชุมชนบ้านหนองตาใกล้. เรียกใช้เมื่อ 14 ตุลาคม 2565 จาก http://forestinfo.forest.go.th/fCom detail.aspx?id=13014
สุรชัย ชูคง และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ้านหนองตาใกล้ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 17(61), 67-77.
Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2. The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Kraemer, H.C. and Thiemann, S. (1987). How Many Subjects? Statistical Power Analysis in Research. Sage Publications, Newbury Park.